-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ที่มาของคำว่า "อีสาน"

             คำว่า อีสาน มีรากจากภาษาสันสกฤต สะกดว่า อีศาน หมายถึง นาม พระศิวะ ผู้เป็นเทพดาประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (เคยใช้มาแล้วเมื่อราว หลัง พ.ศ. 1000 ยุคเขมรโบราณในชื่อรัฐว่า อีศานปุระ และชื่อพระราชาว่า อีศานวรรมัน) แต่คำบาลีเขียนอีสาน ฝ่ายไทยยืมรูปคำจากบาลีมาใช้ หมายถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คำว่าตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่หมายตรงกับคำอีสาน) เริ่มใช้เป็นทางการ สมัยรัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ. 2442 ในชื่อ มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ ยังหมายเฉพาะลุ่มนํ้ามูลถึงอุบลราชธานี จัมปาสัก ฯลฯ  รวมความแล้วใครก็ตามที่มีถิ่นกำเนิด หรือมีหลักแหล่งอยู่ทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (จะโดยเคลื่อนย้ายเข้าไปอยู่เมื่อไร ก็ตาม) ถ้าถือตัวว่าเป็น คนอีสาน หรือ ชาวอีสาน อย่างเต็มอกเต็มใจ และอย่างองอาจ ก็ถือเป็นคนอีสานเป็นชาวอีสานทั้งนั้น




             ดังนั้น "คนอีสาน" หรือ "ชาวอีสาน" จึงไม่ใช่ชื่อของเชื้อชาติเฉพาะ แต่เป็นชื่อ สมมติเรียกกลุ่มคนหลายหลากมากมายในดินแดนอีสาน และเป็นชื่อเรียกอย่าง กว้างๆ รวมๆ ตั้งแต่อดีตสืบจนปัจจุบัน


ที่มา  สุจิตย์ วงษ์เทศ.(2549).ชื่อบ้านนามเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.




ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย