ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ช่างเกวียนมืออาชีพ และเกวียนน้อยบ้านใจดี ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ประวัติความเป็นมาของเกวียน
          เกวียน เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่งที่มีล้อเลื่อน อายุเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังมีใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน มี 2 ล้อ เคลื่อนที่ไปโดยใช้วัวหรือควายเทียมลากไป โดยปกติใช้วัว หรือควาย จำนวน 2 ตัว  เกวียนใช้เป็นพาหนะสำหรับการเดินทาง  ตามตำนานกล่าวว่า มนุษย์รู้จักใช้ล้อมาก่อน ยุคประวัติศาสตร์ ส่วนเกวียนที่เทียมสัตว์และรถศึกมีปรากฏแน่ชัดในสมัยกรีกและโรมัน
          ในสมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นยุคต้นของไทย มีวรรณคดี พงศาวดารหลายเรื่องที่กล่าวถึงเกวียน เช่นใน เรื่องพระร่วงส่งส่วยน้ำ คนไทยได้ใช้เกวียนบรรทุกส่วยไปบรรณาการขอมผู้มีอำนาจ
          ในสมัยหลัง ๆ สมุหเทศาภิบาลใช้   "เกวียนด่าน"   เดินทางจากอุบลราชธานีมายังกรุงเทพฯ   โดยนั่ง เกวียนคันหนึ่งมาแล้วเปลี่ยนนั่งคันใหม่ต่อกันเป็นทอด ๆ
          ยุคนั้นยังไม่มีรถยนต์ เกวียนถูกใช้เป็นพาหนะในการไปตรวจราชการท้องที่ของข้าราชการ   โดยได้ใช้ส่วนกลางของเกวียน เป็นที่นอน ใช้ส่วนหน้าเป็นโต๊ะเขียนหนังสือ และใช้ใต้ถุนเกวียนเป็นที่หุงหาอาหาร
          เกวียนแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ เกวียนเทียมวัวและเทียมควาย เกวียนเทียมวัวจะเตี้ยกว่า ทางภาคใต้จะนิยม ใช้ควายเทียมเกวียน ส่วนภาคเหนือ และภาคอีสานจะนิยมใช้วัวเทียมเกวียน
          ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้ตรากฎข้อบังคับเพื่อใช้ควบคุมการใช้เกวียนนี้ขึ้น จึงนับว่าเป็นกฎหมายฉบับ แรกว่าด้วยการใช้เกวียน แต่มีผลบังคับเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมารัชกาลที่ 6 ได้ทรงดำริว่าขนาดของล้อ เกวียนกว้างเท่ากันทั่วราชอาณาจักร
          พ.ศ.2460 กำหนดให้ล้อเลื่อนทุกชนิดในเขตพระนครต้องจดทะเบียนรับใบอนุญาตขับขี่ทุก ๆ ปี ครั้น หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ได้มีประกาศพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พ.ศ. 2478 กำหนดให้เก็บค่าจดทะเบียนเกวียน เล่มละ 1 บาท นับตั้งแต่เริ่มใช้จนชั่วอายุเกวียน และผ่อนผันให้ผู้ ขับขี่เกวียนไม่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่และนับตั้งแต่นั้นมาก็มิได้มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเกวียนอีกเลย
ขบวนเกวียน, จังหวัดขุขันธ์* ปี ค.ศ.1936 (พ.ศ.2479)
ช่างภาพ Pendleton, Robert Larimore ภาพจาก UWM Libraries

          การทำเกวียนต้องใช้ทั้งทักษะฝีมือและประสบการณ์ในทุกๆ ขั้นตอน ดังนั้นจึงพบว่า แต่ละท้องถิ่นมีช่างทำเกวียน เฉพาะในบางชุมชนเท่านั้น เพราะเป็นความสามารถพิเศษที่ต้องอาศัยฝีมือและแรงงานที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม และจะถ่ายทอดกัน ในแต่ละกลุ่มหรือชุมชนนั้นๆ
          จากการสำรวจศึกษาในภาคอีสาน พบว่าหมู่บ้านที่มีช่างทำเกวียนหลายคน ได้แก่
             1. บ้านนาสะไมย์ จังหวัดยโสธร มีช่างเปี่ยง  เจริญคุณ (เสียชีวิต) ช่างทุย  หาสำรี (ย้ายจากบ้านนาสะไมย์ไปอยู่ที่บ้านดู่ลาด อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร และเสียชีวิต เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓)   ช่างบุญยัง  หาสำรี ช่างน้อย  หาสำรี (เสียชีวิต) ช่างผุย  เจริญบุตร และช่างทอก  ทองเกลียว
             2. บ้านป่าสังข์ จังหวัดร้อยเอ็ด มีช่างจารพันทอง พิมพ์ภู พระครูโสภณบุณยเขต (โสม โสภาโณ) และพระนิคม  อาสาโภ
             3. บ้านใจดี จังหวัดศรีสะเกษ มีช่างเกิด  เตารัตน์ (เสียชีวิต) ช่างหวล  ไกลถิ่น ช่างสมเกียรติ  เตารัตน์ (ลูกชายของช่างเกิด) ช่างหยาด  เทพแสง (ลูกเขยของช่างเกิด) และช่างทัด  สอนพูด
ปัจจุบันแม้จะไม่ค่อยพบมีการใช้เกวียนในวิถีชีวิตประจำวันแล้ว  แต่บ้านใจดี ตำบลใจดี  อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ก็ยังคงมีการผลิตเกวียนขนาดเล็กโดยเลียนแบบเกวียนที่ใช้งานจริงในอดีต  เพื่อทำเป็นของประดับตกแต่งหรือสามารถใช้เป็นของที่ระลึกได้ 

กลุ่มผลิตเกวียนน้อยบ้านใจดี
        กลุ่มผลิตเกวียนน้อยบ้านใจดี ตั้งอยู่เลขที่ 325 หมู่ที่ 10 บ้านใจดี ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีนายสมเกียรติ เตารัตน์ เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิก 30 คน สมาชิกสามารถผลิตเกวียนน้อยจำหน่ายให้เกิดรายได้เสริมและสร้างชื่อเสียงให้ กับชาวบ้านใจดี และอำเภอขุขันธ์เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของอำเภอขุขันธ์ด้วย เป็นกลุ่มที่มีความรู้ความสามารถด้านการผลิตเกวียนน้อย ซึ่งเป็นเกวียนเลียนแบบการใช้งานจริง  เพื่อทำเป็นของประดับตกแต่งหรือสามารถใช้เป็นของที่ระลึกได้  โดยกลุ่มผลิตเกวียนน้อยบ้านใจดีสามารถผลิตเกวียนน้อยจำหน่ายให้เกิดรายได้เสริม และสร้างชื่อเสียงให้กับชาวบ้านใจดีและ อ.ขุขันธ์เป็นอย่างยิ่ง  

วัสดุที่ใช้ ประกอบด้วย ไม้ไผ่ รากไม้ประดู่ ไม้โมก ไม้ต้นกระท้อน ไม้อัด เชือกไนล่อน ลวด สีประดู่ทาเนื้อไม้ น้ำมันเคลือบเงา มีดตอก เหล็กเจาะ เลื่อย เลื่อยฉลุ เหล็กตะไบ กระดาษทราย ค้อน เครื่องกลึง กระดาษทอง ซึ่งไม้ที่นำมาใช้หาได้จากท้องถิ่น โดยมีกระบวนการผลิตจะแบ่งทำเป็นส่วน ๆ ก่อน คือ โครงเกวียนน้อย ล้อ โครงประทุน และหลังคาประทุน แล้วจึงนำมาประกอบเข้าเป็นตัวเกวียนทีหลัง

สถานที่จำหน่าย จำหน่ายที่ทำการกลุ่ม, ร้านประเสริฐสมัยศรีสะเกษ, ร้านจักรินศรีสะเกษ ,ร้านผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ห้างเทสโก้ โลตัส สาขาขุขันธ์ และจำหน่ายตามเทศกาลต่างๆ
เกวียนน้อย 
คุณสมเกียรติ  เตารัตน์
325 หมู่ที่ 1 ตำบลใจดี   อำเภอขุขันธ์  
จังหวัด ศรีสะเกษ โทร.087-252611
กลุ่มทีมงานช่างทำ/ประกอบเกวียนใหญ่ระดับมืออาชีพ จากบ้านใจดี หมู่ที่  10 ตำบลใจดี  อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ  เป็นกลุ่มช่างทำเกวียนรุ่นหลังจากช่างเกิด  เตารัตน์(เสียชีวิตแล้ว) มีความชำนาญในการทำและประกอบเกวียนใหญ่แบบโบราณ  ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 13 คน ได้แก่
ทีมงานช่าง
             1. นายโฮม  จันทร์สุด         8. นายเกลี้ยง บุตรตะเคียน
             2. นายทะนง  จาตูม           9. นายรัตน์  คงยะมาศ  
             3. นายธวัช  ใจพร            10. นายเลี้ยง จาตูม
             4. นายสุพรรณ บุญเกิด      11. นายเสร็ม  ชาญพินิจ
             5. นายบุญพริ้ง  แพงมา     12. นายเทศ    สมทอง 
             6. นายธวัชชัย  บานชื่น      13. นายวงษ์สิทธิ์  แสนแสง
             7. นายสุทิศ  สอนศรี

สนใจประสานงานข้อมูลและติดต่อทีมงานช่าง ได้ที่
             1. นายอนุรักษ์  เพชรอินทร์  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลใจดี  โทร.081-9550674
             2. นายวิทิศ  กลางมณี  กำนันตำบลใจดี  โทร.087-2563069
             3. นายชูพงษ์  ชวดพงษ์ ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาก๊อก(คนบ้านใจดี) โทร.084-8271470 

ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลช่างเกวียนมืออาชีพบ้านใจดี ทั้ง 3  ท่าน ข้างต้น และ 
             - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ  เล่มที่ 36.2556 . เรื่องที่ ๓ เกวียน / แหล่งทำเกวียนและช่างเกวียน.(ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=36&chap=3&page=t36-3-infodetail08.html.12 มิถุนายน  2556. 
             - GotoKnow.2556 .เกวียนไทย.(ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/433949.12 มิถุนายน  2556.
             - กลางทุ่งมหาวิทยาลัย Klang Thung University.(ออนไลน์).แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/photo.php?fbid=512411462170573&set=a.131366020275121.31984.105280842883639&type=1&theater .19 กันยายน 2556.

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย