ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์เมืองขุขันธ์ครั้งสำคัญ

           ปี  พ.ศ.๒๔๘๑   ซึ่งขณะนั้นจังหวัดขุขันธ์  มีหลวงศรีราชารักษา ( ผิว  ชาตรีรัฐ )  เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ   รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกา   เปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอ   พุทธศักราช   ๒๔๘๑  ซึ่งขณะนั้นมีนายพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา  เป็นนายกรัฐมนตรี  เห็นว่า  จังหวัดขุขันธ์มีที่ทำการศาลากลางจังหวัดอยู่ที่อำเภอกลางศรีสะเกษ  แต่มิได้ชื่อว่า  ศรีสะเกษ  ซึ่งเป็นนามเมือง  จึงมีการนำเสนอ ต่อสภาผู้แทนราษฏร์ ขอเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง ดังนี้
           พระราชกฤษฎีกา  เปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอ    ปีพุทธศักราช  ๒๔๘๑
           มาตรา  ๓  ให้เปลี่ยนนามจาก  "จังหวัดขุขันธ์"  เป็นนาม   "จังหวัดศรีสะเกษ "
           มาตรา  ๔ ให้เปลี่ยนนามอำเภอต่อไปนี้เสียใหม่  คือ 
               - อำเภอกลางศรีสะเกษ  เป็นอำเภอเมืองศรีสะเกษ
               - อำเภอห้วยเหนือ  เป็น  อำเภอขุขันธ์ 
               - อำเภอน้ำอ้อม  เป็นอำเภอกันทรลักษ์ 
               - อำเภอคง  เป็น  อำเภอราษีไศล 
            ทั้งนี้ เพื่ออนุรักษ์ชื่อเมืองเก่า  ซึ่งมีอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษไว้  หลังจากมีพระราชกฤษฏีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและมีการแยกเมืองใหญ่ออกเป็นหลายอำเภอดังที่กล่าวมาแล้ว  อำเภอขุขันธ์ จึงเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษตั้งแต่นั้นเป็นมา

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย