-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บริเวณที่ตั้งของเมืองขุขันธ์ในอดีต

บริเวณที่ตั้งของเมืองขุขันธ์ในอดีต
คือ เมืองโคกขัณฑ์   โคกขัน   ขุขันธ์ หรือ เมืองโคกลำดวน
              ที่ตั้งของเมืองขุขันธ์โบราณ  หรือปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน  สันนิษฐานว่าอยู่ในบริเวณที่ตั้งของอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้   เพราะพบแท่นโยนีลิงค์ หรือ ฐานโยนีทำด้วยศิลาแลง  กระจัดกระจายอยู่ในบริเวณเมืองขุขันธ์ในปัจจุบันหลายแห่ง  แท่นโยนีลิงค์นี้เป็นรูปเคารพของชาวขอมโบราณที่นับถือศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย  ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมากในพุทธศตวรรษที่ 12 - 14   แท่นโยนีลิงค์ในบริเวณเมือง ขุขันธ์พบอยู่บริเวณวัดเจ็ก ในตัวอำเภอขุขันธ์ปัจจุบัน ,ที่ปราสาทตาเล็ง  ศิลปะขอมแบบบาปวน ซึ่งมีอายุราว พ..1560–1630  , แท่นโยนีลิงค์ที่บ้านปราสาทใต้ห่างจากอำเภอขุขันธ์ปัจจุบัน ประมาณ 7 .. และปราสาทเก่าอยู่บริเวณตะวันออกโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์   ปัจุจบันพระครูประกาศธรรมวัตร(หลวงพ่อสาย)  เจ้าอาวาสวัดบ้านตะเคียนราม  ได้สั่งเคลื่อนย้ายแท่นโยนีลิงค์ หรือ ฐานโยนี มาไว้ที่หน้าอุโบสถวัดบ้านตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
  
           นอกจากนี้  หลักฐานทางเอกสารได้กล่าวถึง  เมืองขุขันธ์  ว่าเป็นชุมชนโบราณเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยโบราณ  เป็นทางผ่านของเส้นทางการสร้างปราสาท มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนัน (Funan)   อาณาจักรเจนละ (Zhenla) และ อาณาจักรขอม (Khmer) ในสมัยเมืองพระนคร คือ นครวัด นครธม  เป็นเส้นทางมิตรภาพระหว่างไทย กับกัมพูชา   ที่เดินทางไปมาหาสู่กันจากดินแดนแห่งทะเลสาบ  มายังภาคอีสานของประเทศไทยตลอดมา  หลักฐานทางเอกสารมีดังนี้

           1. เมืองขุขันธ์  เป็นคำที่ชาวขอมโบราณเรียกบริเวณที่ตั้งของอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้ว่า เมือง  โคกขัณฑ์  ตามพจนานุกรมเขมร   ฉบับพุทธศาสนบัณฑิต  ซึ่งมีประกาศให้จัดทำขึ้นเมื่อ วันที่ 4 ธันวาคม พ.. 2458  ในหน้า  1384   เรียกเมืองขุขันธ์   ว่า   เมืองโคกขัณฑ์    เมืองโคกขัณฑ์นี้  เป็นเมืองคู่กันกับ เมืองสุรินทร์   ซึ่งมีประชาชนส่วนใหญ่ยังพูดภาษาเขมรและรักษาขนบธรรมเนียมของตนเองอยู่    " ซรกโคกขัณฑ์ "  ในสำเนียงเขมร หรือ   เมืองขุขันธ์   เป็นชุมชนโบราณมานานนับพันปีแล้ว    คำว่า  ขุขันธ์    จึงมาจากคำว่า  "โคกขัณฑ์ " 
  ​​​            และได้เขียนเพี้ยนมาเป็นขุขันธ์ดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้     โคกขัณฑ์   เป็นดินแดนมีที่มีอาณาเขตกว้างขวาง   เป็นชุมชนหนึ่งที่เป็นทางผ่านของการเดินทางในเส้นทางของการสร้างปราสาทของกษัตริย์ขอมมาแต่โบราณ    ซึ่งต่อมาทางราชสำนักของไทยใช้เรียกผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณชุมชนแถบนี้ว่า   เขมรป่าดง

          2. เมืองขุขันธ์  หรือ บริเวณขุขันธ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้  เป็นเมืองเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยโบราณ  ปรากฏหลักฐานใน   หนังสือประวัติศาสตร์เขมร   ภาคที่ 1-2 เขียน โดย  ตรึง   เงีย   หน้า 143 (ดูแผนที่ประกอบ) ปรากฏมีเมืองขุขันธ์  (เขตโคกขัน) เขียนเป็นภาษาเขมรตามอักขระว่า  โคกขัน  ในตอนต้นกรุงศรีอยุธยา  ก่อนกรุงละแวกแตก ในสมัยก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรตีเมืองละแวกได้  ซึ่งขณะนั้นกษัตริย์เขมรผู้ครองกรุงละแวก คือ พระจันทราชา  (ครองเมืองละแวก พ..2059 - 2109)
จากแผนที่ข้างบนนี้ ชาวกรุงละแวกในสมัยพระจันทราชา  (..2059 - 2109) เรียกว่า โคกขัน  
           3. ต่อมาชาวเขมรเรียกเมืองขุขันธ์  ว่า  ขุขันธ์ ดังเนื้อความตามแบบเรียนประวัติศาสตร์กัมพูชา  ในหนังสือ  ศิลปและวัฒนธรรม (Art &culture) วันที่ 01 มีนาคม พุทธศักราช 2546 (ปีที่ 24 ฉบับที่ 5)เขียนโดย ศานติ ภักดีคำ ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร  (E-mail : webmaster@matichon.co.th Copyright  by Matichon Public Co.,Ltd. All Rights Reserved. Design by Matichon Information Center)   ในการที่ไทยต้องคืนจังหวัดเสียมราฐ    พระตะบอง   ให้ฝรั่งเศสไป  ว่า 
"แผ่นดินเขมรได้กลับคืนมาสู่เขมร  ด้วยความช่วยเหลือของฝรั่งเศส  ในปี ค.. 1904  สยามคืน  สตึงเตรง  มลูไพร  และทนเลเพา  และในปี  ..1906  สยามคืนพระตะบอง และเสียมเรียบ  อีก  สยาม ได้  เมืองสุรินทร์  บุรีรัมย์  ขุขันธ์ " ...

           เมืองขุขันธ์  จึงเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุนานนับพันปีที่ชาวขอมโบราณ  ใช้เรียกบริเวณที่เป็นเมืองขุขันธ์ ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้ว่า   เมือง โคกขัณฑ์   ซึ่งในเวลาต่อมาชาวเขมรในสมัยกรุงละแวกของพระจันทรราชา  (..2059 - 2109) เรียกว่า  เมือง  โคกขัน   และเขมรในรัฐอารักขาของฝรั่งเศส  ได้เรียกบริเวณที่เป็นอำเภอขุขันธ์ในปัจุบันนี้ว่า เมืองขุขันธ์

           เมืองขุขันธ์  มีเจ้าเมืองระดับ  พระยามาถึง 9 ท่าน     ตำแหน่ง พระยา” ใช้ธรรมเนียมของเขมร  ตำแหน่ง  ออกญา”  ที่เรียกว่า  สดาจ่กราญ่” “ออกญาหรือ พระยา มีอำนาจเด็ดขาด  สามารถสั่งประหารชีวิต  คนที่มีโทษถึงประหารได้   และมีดาบประจำตำแหน่งสำหรับใช้ประหารชีวิตนักโทษด้วย    เจ้าเมืองขุขันธ์ทุกท่านต่างก็ได้รับดาบประจำตำแหน่งเล่มนี้ทุกคน
         
           ที่ประหารชีวิตนักโทษในบริเวณเมืองโคกขัณฑ์ (ขุขันธ์)  อยู่ที่บริเวณโรงเรียนศรีประชานุกูลในปัจจุบัน (อนุบาลศรีประชานุกูล)  ระหว่างบ้านบกกับโรงเรียนขุขันธ์วิทยา  ซึ่งชาวเมืองโคกขัณฑ์(ขุขันธ์)เรียกบริเวณนี้ว่า  เวียลตาย  เวียล เป็นภาษาเขมร แปลว่า ทุ่ง   ท้องทุ่ง   ที่ราบโล่ง   ส่วนคำว่า  ตาย   เป็นภาษาไทย   แปลว่า สิ้นใจ  สิ้นชีวิต  สิ้นสภาพของการมีชีวิต   ดังนั้น คำว่า เวียลตาย  ก็คือบริเวณที่ใช้ประหารชีวิตนักโทษ  หรือ  ทุ่งที่ใช้ประหารนักโทษ   บางครั้งชาวบ้านก็ยังเรียกบริเวณนี้ว่า  บุหลวง คำว่า บุ (บุะ)  เป็นภาษาเขมร  หมายถึง  ไร่ที่ถูกทิ้งร้างไป  ป่าละมาะที่ถูกทิ้งร้างหลังจากที่ชาวบ้านทำไร่เลื่อนลอย  หลวง  เป็นคำไทย  หมายถึง  เป็นของรัฐบาล เป็นของทางราชการ  เขมรใช้คำนี้โดยเขียนตามไทย  ว่า หลวง  อ่านว่า   หลวง  ความหมายก็ตรงกับภาษาไทย    คำว่า  "บุหลวง" ก็คือ   ป่าละเมาะของทางราชการ  หรือ  ที่ดินหลวง  นั่นเอง   พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน และพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ท่านที่ 2 - 9  เจ้าเมืองขุขันธ์ทั้ง   9  ท่าน   ได้ใช้บริเวณ เวียลตาย  หรือ  บุหลวง  เป็นสถานที่สำหรับใช้ประหารนักโทษที่ต้องโทษถึงประหารในบริเวณป่าละเมาะแห่งนี้มาตลอดมา   ในธรรมเนียมของเขมร   ผู้ที่ได้ตำแหน่ง  ออกญา ที่เรียกว่า สดาจ่ กราญ่ หรือ พระยา จะได้รับศาสตราวุธ และยุทโธปกรณ์  ดังต่อไปนี้
           ศาสตราวุธ     คือ     
      (1)พระขรรค์
      (2)ธนู
      (3) หน้าไม้
      (4) โนน  คล้ายหอก  แต่ปลายด้ามมีพู่
      (5) ดาบสั้น  ดาบยาว
      (6) พร้าด้ามยาว
      (7) หอกสั้น หอกยาว
      (8)พลอง
      (9)เขน
      (10)กริช
      (11)ปืนสั้น  ปืนยาว
ยุทโธปกรณ์  คือ
      (1)เสื้อเกราะ
      (2)เสื้อยันต์
      (3)ผ้ายันต์
      (4)ธงชาติ
      (5)ธงมหาราช
      (6)ธงชัย
      (7)กลองชัย
      (8)ฆ้องชัย
      (9)กลองแขก (จากประวัตศาสตร์เขมร ภาคที่ 1-2 โดย ตรึง เงีย หน้า หน้า 179 -180)

           เมืองขนาดใหญ่ในสมัยโบราณ  ที่ขึ้นต้นด้วย  โคก  มีอยู่  3  เมือง   นครโคก  ใหญ่ๆ คือ    โคกทะโหลก    โคกตะแบง   และโคกลำดวน  หรือ   ที่เจ้าของชุมชนโบราณเรียกตัวเองว่า   โคกขัณฑ์  
ดังนี้
            (1)  โคกทะโหลก   เมืองหลวงของอาณาจักร ฟูนัน หรือ  อาณาจักร พนม ในราวพุทธศตวรรษที่ 6 จนถึงราว พ.. 1100  มีเมืองหลวงชื่อ    นอกอ  โคกทะโหลกแปลว่า  นครเนินต้นพอก ( โคก  เป็นภาษาเขมร   แปลว่า   ที่สูง   เนินสูง   ที่ราบสูง ,   ทะโหลก   แปลว่า ต้นพอก)   โคกทะโหลก     หมายถึง  บริเวณที่สูงที่มีต้นพอกขึ้นหนาแน่น      บริเวณที่ราบสูงที่มีต้นพอกขึ้นชุกชุม  บริเวณป่าสูงที่เต็มไปด้วยหมู่ต้นพอก  บริเวณเนินสูงที่เต็มไปด้วยหมู่ไม้จำพวกต้นพอก  โคกทะโหลก  เมืองนี้ตั้งอยู่แถบเมืองบาพนม ในจังหวัดเปรเวง  ในประเทศกัมพูชา  และจังหวัดออกแอ้ว  (Oc-Eo) ในประเทศเวียดนาม   อันเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเล  ตรงดินดอนสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำโขง  ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

            (2)  โคกตะแบง   เป็นบริเวณที่ตั้งปราสาทเกาะเกริ์  ในสมัยพระเจ้าไชยวรมันที่ 4  น้องเขยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 .. 1471-1485  อยู่ในจังหวัดพระวิหารของกัมพูชาในปัจจุบันนี้    โคกตะแบง  หมายถึง  บริเวณเนินต้นตะแบง   เป็นบริเวณที่มีต้นตะแบงขึ้นชุกชุมบริเวณป่าสูงที่เต็มไปด้วยต้นตะแบง  ปราสาทเกาะเกริ์เข้าใจว่าเป็นปราสาทองค์เดียวในกัมพูชาที่สร้างเป็นรูปปิระมิด   ตัวปราสาทล้อมรอบด้วยปราสาทองค์เล็กจำนวนมาก  และในปราสาทองค์เล็กหลายองค์พบแท่นโยนีและศิวลิงค์ขนาดใหญ่มาก  เป็นศิวลิงค์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา

            (3) โคกลำดวน หรือบริเวณโคกขัณฑ์   เป็นชุมชนโบราณอยู่ในบริเวณที่ราบสูงเทือกเขาพนมดงเร็กกับภาคอีสานของไทย    โคก=เนิน  ที่ราบสูง     ขัณฑ์ = ดินแดน   โคกขัณฑ์     คือ  บริเวณที่ราบสูงเลยเทือกเขาพนมดงเร็กขึ้นมายังภาคอีสานของไทยในปัจจุบันซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้   ชุมชนโบราณแถบนี้ เจ้าของพื้นที่เรียกว่า   โคกลำดวน  อันเป็นบริเวณที่มีต้นลำดวนขึ้นอยู่โดยทั่วไป  เป็นบริเวณที่มีต้นลำดวนขึ้นชุกชุม เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงภูมิประเทศของเมืองหรือชุมชนดังกล่าว  จึงใช้คำว่า  ศรีนครลำดวนเป็นสร้อยต่อท้ายราชทินนามของเจ้าเมืองขุขันธ์ทั้ง 9 ท่าน  เพราะว่า เมืองขุขันธ์ หรือ แดนโคกลำดวน เป็นเมืองเก่าแก่มานานนับพันปีแล้ว

            ฉะนั้น  โคกลำดวน คือบริเวณที่ชาวชุมชนโบราณเรียกว่า  โคกขัณฑ์ ชาวกรุงละแวกในสมัยพระจันทราชา  (..2059 - 2109) เรียกว่า โคกขัน  และในเวลาต่อมาชาวชุมชนโคกลำดวนได้เรียกบริเวณ นี้ว่า  "โคกขัณฑ์"  ก็คือ บริเวณเมืองขุขันธ์ อันเป็นบริเวณที่ตั้งของอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้  และเจ้าเมืองทั้ง 9 ท่าน  หรือ พระยาขุขันธ์ทั้ง 9 ท่าน  ก็ได้ปกครองบ้านเมืองในราชทินนาม “พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน และพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน   อยู่ที่นี่ตลอดมา

ขอบพระคุณผู้เรียบเรียง : ดร.ปริง เพชรล้วน




ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย