-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ชุมชนโบราณในเส้นทางสายปราสาท หรือ ชุมชนโบราณในราชมรรคา

              เส้นทางสายปราสาท  หรือ ราชมรรคา  ที่เริ่มจากเมืองพระนคร  หรือ  นครวัดนครธม ของกษัตริย์ขอม โดยเฉพาะพระเจ้าชัยวรมันที่ 7  (.. 1720  - 1762) ทรงสร้างแบ่งออกใหญ่ๆได้เป็น  3  ทาง  ดังนี้
              1.ทางด้านทิศเหนือ    จะมีปราสาทเรียงรายเหนือประเทศกัมพูชาในปัจจุบันขึ้นมาระหว่างสองฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของทางสายแม่น้ำโขงระหว่างภาคอีสานของไทย  และส่วนของประเทศลาวที่ไปจนถึงเวียงจันทน์
              2.ทางด้านทิศตะวันออก  จะมีปราสาทเล็ก ปราสาทใหญ่  เป็นระยะๆไปตลอดจนถึงดินแดนอาณาจักรจามปา  ซึ่งเป็นดินแดนของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน
              3.ทางด้านทิศตะวันตก   ผ่านปราสาทพนมรุ้ง  ในจังหวัดบุรีรัมย์   ปราสาทหินพิมาย   ในจังหวัดนครราชสีมา  ปราสาทสด็อกก๊อกทม ในจังหวัดสระแก้ว   ไปจนจดปราสาทต่างๆในจังหวัดกาญจนบุรี   จังหวัดเพชรบุรีในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7     การสร้างปราสาท        ทั้งปราสาทขนาดเล็กและปราสาทขนาดใหญ่ ในเส้นทางสายปราสาท  โดยเฉพาะ การสร้าง  ธรรมศาลา  หรือ  ที่พักคนเดินทาง   และ  อโรคยาศาลา   หรือ   โรงพยาบาล    จะมีการสร้างทุกระยะประมาณ   15  กิโลเมตร   เป็นระยะการเดินทางที่พอเหมาะในสมัยโบราณในสภาพที่ธรรมชาติยังมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์       ถ้าเดินทางเป็นหมู่คณะใหญ่ๆมีกองเกวียนจะใช้ระยะเวลา  1 วัน    ก็จะถึงที่พักคนเดินทาง หรือ บ้านคนมีไฟ  ถ้าเป็นคณะเล็กๆเดินทางอย่างเร่งรีบจะใช้เวลาประมาณ  6-8  ชั่วโมง      ถ้ามีการเร่งรีบพิเศษไปโดยสัตว์พาหนะเช่นม้า จะถึงบ้านพักคนเดินทางได้เร็วกว่านี้ในสมัยของกษัตริย์องค์นี้มีการสร้างปราสาทหินที่เรียกว่า ธรรมศาลา จากเมืองนครหลวงไปยังเมืองพิมาย  17  แห่ง      ระหว่างเมืองนครหลวงไปถึงจามปา  57  แห่ง  และมีหลักฐานว่า    ทรงสร้างปราสาทไว้เรียงรายตามราชมรรคามากกว่า     100  แห่งรูปแบบการสร้าง อโรคยาศาลา  หรือโรงพยาบาล     สร้างด้วยไม้แบ่งเป็นห้องๆ  มีแพทย์ประจำ  2  คน  ผู้ช่วยพยาบาล 6 คน ชาย  2  หญิง 4   ผู้รักษายา  2  คน   คนครัว  2  คน  คนเตรียมเครื่องสังเวยพระพุทธรูป 2  คน  พยาบาลชาย   14  คน  หญิง  6  คน   ทำหน้าที่ต้มและบดยาหญิง 2 คน มีหน้าที่ตำข้าว ขนาดของโรงพยาบาลรักษาคนไข้ได้เต็มที่ 66 คน   นอกจากห้องสำหรับคณะผู้รักษาพยาบาล  ยังมีห้องทำด้วยหินไว้ประดิษฐาน พระพุทธไภษัชคุรุ ไวทูรย์ประภา   โพธิสัตว์ผู้รักษาโรคที่ตำบลบักได    อำเภอกาบเชิง   จังหวัดสุรินทร์     มีปราสาทขนาดเล็กอยู่หลายแห่ง  แห่งแรกชื่อ  ปราสาทตาเมือน  ตัวปราสาทก่อสร้างด้วยศิลาแลง  มีมุขยาวยื่นออกไปทางทิศตะวันออก   มีประตูเข้า   2  ทาง   รูปแบบนี้   คือ ธรรมศาลา  หรือ ที่พักคนเดินทางแห่งต่อมาคือ ชื่อ ปราสาทตาเมือนโต๊ด     ตัวปราสาทหลักก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย  มีมุขยื่นและประตูเข้าทางทิศตะวันออก  ส่วนอีกสามด้านเป็นประตูหลอก มีกำแพงแก้วล้อมรอบ  นี่คือ  อโรคยาศาลา  หรือ โรงพยาบาล
ในบรรดาปราสาทหินเหล่านี้   มีจารึกสุโขทัยหลักหนึ่ง  เล่าถึงเรื่องที่น่าสนใจว่า ฟ้าเมืองยโสธรปุระ     ได้พระราชทานพระขรรค์ชัยศรี      พระนางศิขรมหาเทวี     และตำแหน่งกมรเตงอัญศรีบดินทราทิตย์   แด่พ่อขุนผาเมือง   เจ้าเมืองราด    กมรเตง  เป็นภาษาขอมโบราณ  เป็นคำ สรรพนาม  หมายถึง  พระเจ้า   พระเดชพระคุณ  อัญ  ข้าพเจ้า    กมรเตงอัญ   แปลว่า  พระเจ้าของข้าพเจ้า    พระเดชพระคุณของข้าพเจ้า   หรือ   พระเจ้าของข้าพระพุทธเจ้า    พระเดชพระคุณของข้าพระพุทธเจ้า จารึกสุโขทัยยังกล่าวถึงชื่อเมืองสำคัญ  เช่น  เมืองละโวทยปุระ  หมายถึงละโว้ หรือลพบุรี   สุววรรณปุระ  คือ   เมืองสุพรรณบุรี   เมืองสามภูกปัฏฏนะ  คือ เมืองเก่าบริเวณสระโกสินนารายณ์  อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี  เมืองชัยราชบุรี  คือ เมืองราชบุรี  เมืองศรีชัย-สิงห์บุรี   คือปราสาทเมืองสิงห์   อยู่ในกาญจนบุรี    เมืองศรีชัยวัชรบุรี   อยู่เมืองเพชรบุรีเมืองในจารึกเหล่านี้  ยังพอมีหลักฐานปราสาทหินให้เห็นมากบ้างน้อยบ้าง  เข้าใจว่าเป็นเมืองในเครือข่ายถนนสายประวัติศาสตร์    (Ancient Khmer Highway)    ที่ในอดีตเคยเป็นถนนมิตรภาพที่ไทยและกัมพูชาใช้เป็นเส้นทางสัญจรสานไมตรีต่อกันสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทั้งสิ้นขุขันธ์ชุมชนโบราณบนถนนมิตรภาพที่ไทยและกัมพูชาใช้สัญจรสานไมตรีต่อกันในอดีต
           เริ่มจากเมืองพระนคร     คือ  นครวัด   นครธม    ในจังหวัดเสียมราฐ ในประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน  มาทางด้านทิศเหนือจะมีชุมชนโบราณ  ในเส้นทางสายปราสาทตามบริเวณใกล้เคียง  ที่มีการสร้างปราสาทเรื่อยตลอดเส้นทางจนถึงบริเวณแถวปราสาทวัดภู  ริมฝั่งแม่น้ำโขง   แคว้นจำปาสัก   ในประเทศลาว  และ  อโรคยาศาลา ที่ไกลที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ คือ  ที่เมืองหาดทรายฟอง  ประเทศลาว  ใกล้กรุงเวียงจันทน์ในปัจจุบันนั่นเอง
          จาก  ปราสาทนครวัด นครธม     หรือ    เมืองพระนคร    ในจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา  ปัจจุบัน     ขึ้นมาทางด้านทิศเหนือ  จะเป็น ปราสาทบันทายศรี  ซึ่งเป็นปราสาทองค์เล็กที่มีภาพจำหลักสวยงามมาก    ถัดขึ้นมาทางเหนืออีก  ก็จะเป็นกลุ่มปราสาทองค์เล็กๆ  ในอำเภออันลงเวง และอำเภอ  ตระเปียงปราสาท จังหวัดอุดรมีชัย 
          ขึ้นมาฝั่งประเทศไทย    ตามช่องเขาต่างๆของเทือกเขาดงเร็กมาถึงอำเภอภูสิงห์   จังหวัดศรีสะเกษ           ก็จะมีปราสาทองค์เล็กๆกระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆหลายที่  ปัจจุบันแทบไม่เหลือร่องรอยให้เห็น เนื่องจากมีผู้ลักลอบขุดเอาวัตถุโบราณไปขาย   ได้ทำลายปราสาทอันทรงคุณค่าให้สูญหาย ไปอย่าน่าเสียดายอย่างยิ่ง   ที่ยังคงปรากฏให้เห็นในเขตอำเภอภูสิงห์  คือปราสาทองค์เล็กอยู่ทางด้านตะวันออกของโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์    ประมาณ  500  เมตร   เหลือเศษหินให้เห็นว่าเป็นที่สร้างปราสาทเท่านั้น  ส่วนแท่นโยนีลึงค์ หรือ ฐานโยนี เจ้าอาวาสวัดบ้านตะเคียนราม  พระครูประกาศธรรมวัตร ได้ให้ลากไปไว้หน้าวัดบ้านตะเคียนรามในปัจจุบัน        ถัดขึ้นมาอีกก็เป็นปราสาทองค์เล็กที่บ้านปราสาทใต้   ตำบลนิคมพัฒนา   อำเภอขุขันธ์   ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันประมาณ  7  กิโลเมตร  ซึ่งยังเหลือแค่แท่นโยนีลึงค์  ส่วนใหญ่บริเวณที่สร้างปราสาทปราสาทแต่ละองค์จะพบแต่ฐานโยนี หรือโยนีลิงค์  เนื่องจากเป็นหินขนาดใหญ่ไม่สามารถขนย้ายไปได้สะดวก   ผู้ลักลอบขุดเอาไปขายก็จะได้ไปแต่ศิวลิงค์  เพราะเป็นท่อนศิลาขนาดเล็กกว่า  สามารถเคลื่อนย้ายไปได้สะดวก   ฐานโยนี หรือ โยนีลิงค์ นี้  คนปัจจุบันแถบนี้  เข้าใจว่าเป็นฐานประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นบัลลังก์ ประดิษฐานพระพุทธรูป  ด้วยความเข้าใจผิดจึงมักจะเรียกฐานโยนี หรือ โยนีลิงค์ว่า  บัลลังก์   ความจริงเป็นศิวลิงค์และฐานโยนี  หรือ
ปราสาทตาเล็งที่บ้านปราสาท ต.ปราสาท อ.ขุขันธ์          ทับหลังรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ที่ปราสาทตาเล็ง
       ศิลปะขอมสมัยปาปวน พ.. 1593 –1693
โยนีนางอุมา  ซึ่งเป็นพระชายาขององค์พระศิวะ  เป็นรูปเคารพในศาสนาฮินดู  ลัทธิไศวนิกาย  ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมากในบริเวณแถบนี้ ระหว่างพุทธสตวรรษที่ 12-14  ถัดไปทางด้านตะวันตกของอำเภอขุขันธ์ประมาณ  12  กิโลเมตร  ก็มีปราสาทตาเล็ง  เป็นศิลปเขมรแบบปาปวน  สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 16  ปราสาทต่างๆเหล่านี้มีให้เห็นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปแทบทุกอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษ
           เส้นทางสายปราสาทสายนี้ออกจากนครวัด นครธม  หรือ เมืองพระนคร  ผ่านมายังปราสาทบันทายศรี   ผ่านปราสาทต่างๆในบริเวณอำเภออันลงเวง  จังหวดอุดรมีชัยในกัมพูชาปัจจุบัน   ขึ้นมายังเทือกเขาพนมดงเร็กในประเทศไทย   มายังปราสาทต่างๆในเมืองโคกขัณฑ์ในอดีต  ที่เป็นอำเภอภูสิงห์  อำภอขุขันธ์  อำเภอปรางกู่   อำเภออุทุมพรพิสัยของจังหวัดศรีสะเกษ 
           อีกสายจะมาจากปราสาทเกาะเกริ์  ในจังหวัดพระวิหาร  ของกัมพูชา  มายังปราสาทต่างๆในอำเภอตระเปียงปราสาท  จังหวัดอุดรมีชัย ผ่านเทือกเขาดงเร็ก มายังประเทศไทย   มายังปราสาทต่างๆในบริเวณเมืองโคกขัณฑ์   หรือแดน  โคกลำดวน  บริเวณอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน  เช่น  ปราสาทตำหนักไทร  หรือปราสาททามจาน  ในอำเภอขุนหาญ  ตั้งอยู่ที่บ้านตำหนักไทร ตำบลบักดอง จากอำเภอขุนหาญใช้เส้นทาง 2127 ไปอีกประมาณ 19 กม. ปราสาทตำหนักไทรมีลักษณะเป็นปรางค์เดี่ยวรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก  ตัวปรางค์ก่อด้วยอิฐ ส่วนกรอบประตูและทับหลังทำด้วยหินทราย บริเวณทางเข้ามีสิงห์จำหลักสองตัว  เหนือประตูทางเข้ามีทับหลังรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16  และยังมีปราสาทต่างๆต่อมาอีกหลายองค์ติดต่อกันไปจนถึงปราสาทเขาพระวิหาร 

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย