ชื่อถนนและซอยสำคัญในตัวอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จากแผนที่เขตเทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ |
ชื่อถนนและซอยสำคัญในอดีตของเมืองขุขันธ์
ถนนไกรภักดี
ถนนไกรภักดี
คำว่า ไกรภักดี มีที่มาจากคำ 3 พยางค์แรกในราชทินนามต่อท้ายบรรดาศักดิ์ พระ และ พระยา ของ ตาสุ หรือ ตากะจะ หรือ ตาไกร หรือ หลวงแก้วสุวรรณ อดีตนายกองหมู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน หรือ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน อดีตเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรกในยุคบั้นปลายกรุงศรีอยุธยา
พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เดิมชื่อ ตาสุ หรือ ตาไกร แต่ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า ตากัญจะฮฺ (ตากะจะ) เนื่องจากท่านเป็นนักรบรูปร่างสูงใหญ่ เป็นหัวหน้าชาวเขมรป่าดงแห่งหมู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน (ชุมชนดั้งเดิมเมืองขุขันธ์) มีน้องชาย ชื่อ “เชียงขันธ์” ทั้งสองพี่น้องมีความเก่งกล้าทางเวทมนต์คาถาอาคมทางไสยศาสตร์ อยู่ยงคงกระพันลือเลื่อง เป็นที่รู้จักในกลุ่มหัวหน้าชาวเขมรป่าดงด้วยกัน โดยเฉพาะมีความเชี่ยวชาญในวิชาคชศาสตร์ ซึ่งใช้ในการจับช้างป่ามาฝึกใช้งาน และสามารถสื่อภาษากับช้างที่ได้ฝึกปรือมาแล้วเป็นอย่างดี ได้เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง
พ.ศ. 2302 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 หรือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ แห่งกรุงศรีอยุธยา (ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2301 — 7 เมษายน พ.ศ. 2310)ได้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน พระยาช้างเผือกได้แตกโรงหนีออกจากโรงช้างเตลิดเข้าป่าโดยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ป่าเขตเทือกเขาพนมดงรัก “ตากะจะ” และ“เชียงขันธ์” พร้อมสหายซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มเขมรป่าดงหมู่บ้านอื่นในละแวกใกล้เคียงกัน ซึ่งก็พอทราบข่าวการหนีมาของพระยาช้างเผือกอยู่ก่อนแล้ว เมื่อคณะผู้ติดตามร้องขอให้ช่วยเหลือจึงตอบรับอาสาออกติดตามพระยาช้างเผือก จนสามารถจับได้และส่งมอบให้คณะผู้ติดตามพร้อมร่วมคณะนำพระยาช้างเผือกส่งกลับถึงกรุงศรีอยุธยาด้วย จึงมีความชอบได้รับโปรดเกล้าฯ บรรดาศักดิ์เป็น หลวงแก้วสุวรรณ ตำแหน่งนายกองหมู่บ้าน ฐานะราชการขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2302 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 หรือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ แห่งกรุงศรีอยุธยา (ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2301 — 7 เมษายน พ.ศ. 2310)ได้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน พระยาช้างเผือกได้แตกโรงหนีออกจากโรงช้างเตลิดเข้าป่าโดยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ป่าเขตเทือกเขาพนมดงรัก “ตากะจะ” และ“เชียงขันธ์” พร้อมสหายซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มเขมรป่าดงหมู่บ้านอื่นในละแวกใกล้เคียงกัน ซึ่งก็พอทราบข่าวการหนีมาของพระยาช้างเผือกอยู่ก่อนแล้ว เมื่อคณะผู้ติดตามร้องขอให้ช่วยเหลือจึงตอบรับอาสาออกติดตามพระยาช้างเผือก จนสามารถจับได้และส่งมอบให้คณะผู้ติดตามพร้อมร่วมคณะนำพระยาช้างเผือกส่งกลับถึงกรุงศรีอยุธยาด้วย จึงมีความชอบได้รับโปรดเกล้าฯ บรรดาศักดิ์เป็น หลวงแก้วสุวรรณ ตำแหน่งนายกองหมู่บ้าน ฐานะราชการขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา
เมื่อปี พ.ศ. 2306 ได้โปรดเกล้าฯ ยกฐานะหมู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนขึ้นเป็นเมือง ชื่อว่า “เมืองขุขันธ์” โดยโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ หลวงแก้วสุวรรณ เป็น พระไกร ในราชทินนาม พระไกรภักดีศรีนครลำดวน เปลี่ยนตำแหน่งนายกองหมู่บ้าน เป็นตำแหน่ง เจ้าเมืองขุขันธ์ นับเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรกในยุคสมัยบั้นปลายกรุงศรีอยุธยา
และต่อมาในปี พ.ศ. 2321 (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ทรงครองราชย์ระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325 นับรวมระยะเวลาทรงครองราชย์ได้ 14 ปี 151วัน) พระไกรภักดีศรีนครลำดวน ได้รับโปรดเกล้าฯบรรดาศักดิ์เป็น พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน
ถนนขุขันธ์ภักดี
ถนนขุขันธ์ภักดี
คำว่า ขุขันธ์ภักดี มีที่มาจากคำ 3 พยางค์แรกในราชทินนามต่อท้ายบรรดาศักดิ์อดีตเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 2 ในยุคกรุงธนบุรี คือ เชียงขันธ์ หรือหลวงปราบ (พุทธศักราช 2321 - 2325) และเป็นราชทินนามต่อท้ายบรรดาศักดิ์อดีตเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 3 - 9 ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับราชทินนามต่อท้ายบรรดาศักดิ์ พระยา ของอดีตเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 2 - 9 ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป คือ ขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ดังรายละเอียดในรายนามอดีตเจ้าเมืองขุขันธ์ยุคกรุงธนบุรี - กรุงรัตนโกสินทร์ ท่านที่ 2 - 9 ดังนี้
เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 2 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( เชียงขันธ์ พุทธศักราช 2321 - 2325 )
เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 3 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวบุญจันทร์ พุทธศักราช 2325 - 2369)
เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 4 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( พระสังฆะบุรี หรือ ทองด้วง พุทธศักราช 2371 - 2393)
เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 5 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวใน พุทธศักราช 2393)
เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 6 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวนวน พุทธศักราช 2393)
เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 7 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวกิ่ง หรือ หลวงภักดีภูธรสงคราม พุทธศักราช 2394 - 2395)
เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 4 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( พระสังฆะบุรี หรือ ทองด้วง พุทธศักราช 2371 - 2393)
เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 5 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวใน พุทธศักราช 2393)
เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 6 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวนวน พุทธศักราช 2393)
เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 7 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวกิ่ง หรือ หลวงภักดีภูธรสงคราม พุทธศักราช 2394 - 2395)
เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 8 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าววัง พุทธศักราช 2395 - 2426)
เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปัญญา ขุขันธิน พุทธศักราช 2426 - 2440 / ผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2440 - 2450) ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล "ขุขันธิน")
เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9 พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปัญญา ขุขันธิน พุทธศักราช 2426 - 2440 / ผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2440 - 2450) ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล "ขุขันธิน")
ซอยบริรักษ์
บริรักษ์ เป็นชื่อซอยเล็กๆในตัวอำเภอขุขันธ์ ชื่อซอยนี้มีที่มาจากชื่อของบุคคลสำคัญในยุคเมืองขุขันธ์ และจังหวัดขุขันธ์ คือ ขุนเวชการบริรักษ์ (ศรี) อดีตสาธารณสุขเมืองขุขันธ์ คนแรก เมื่อช่วงระหว่าง พ.ศ. 2451 -2459 และ อดีตสาธารณสุขจังหวัดขุขันธ์ คนแรก และเป็น แพทย์ประจำจังหวัดขุขันธ์ คนแรก เมื่อช่วงระหว่าง พ.ศ. 2459-2477 ขณะที่ดำรงตำแหน่ง แพทย์ประจำจังหวัดขุขันธ์ ได้ ขอพระราชทานนามสกุลและได้รับพระราชทานนามสกุล นามสกุลเลขที่ 4847 นามสกุล วรสุมันต์ อักษรโรมัน Varasumanta ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ตัวอำเภอเมือง จังหวัดขุขันธ์ ประเทศสยาม ยังคงอยู่ ณ พิกัดที่ตั้งเดิมอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน
ซอยสังขะบุรี
สังขะบุรี เป็นชื่อของซอยเล็กซอยหนึ่งในตัวอำเภอขุขันธ์ เป็นทางที่เลี้ยวเข้าไป สถานีเดินรถ บขส.อำเภอขุขันธ์ มีที่มาจากราชทินนามต่อท้ายบรรดาศักดิ์ พระ ของอดีตเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 4 คือ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (พระสังฆะบุรี หรือ ทองด้วง พุทธศักราช 2371 - 2393 )
พระสังฆะบุรี เป็นบุตรเจ้าเมืองสังขะท่านแรก คือ พระยาสังฆะบุรี หรือ เชียงฆะ ซึ่งเป็นหัวหน้าเขมรป่าดงร่วมกับคณะจับพระยาช้างเผือกนำส่งกลับกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2302 เมื่อ ตาสุ หรือตากะจะ ได้รับโปรด เกล้าฯ ให้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงแก้วสุวรรณ นั้น เชียงฆะ ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ บรรดาศักดิ์ เป็น หลวงเพชร หัวหน้านายกองว่าราชการดูแลหมู่บ้านอัจจะปะนึง หรือหมู่บ้านโคกอัจจะ (ชื่อหมู่บ้านในอดีตอันเป็นที่ตั้งของเมืองสังฆะในยุคสมัยต่อมา) ภายหลังยกฐานะเป็นเมืองสังฆะ ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ หลวงเพชรเป็น พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ เจ้าเมืองสังฆะ
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 ทางการได้เปลี่ยนชื่อของเมืองสังฆะ พร้อมกับเปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอเรียกว่า อำเภอสังขะ ขึ้นกับจังหวัดสุรินทร์ มาจนถึงปัจจุบันนี้
................(ถนนและซอยอื่นๆ รออัพเดทเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป โปรดติดตามเป็นระยะๆไป ครับ)...........................
Reference :
ที่มาของชื่อถนนและซอยสำคัญในอดีตของเมืองขุขันธ์. (2024). Mueangkhukhanculturalcouncil.org. https://www.mueangkhukhanculturalcouncil.org/2023/07/blog-post.html
พระราชวังพญาไท.(2024). http://www.phyathaipalace.org/นามสกุลพระราชทาน/namering.htmlเส้นสายแห่งกาลเวลาของเรื่องราวชาวสาธารณสุขขุขันธ์ (Story Timeline of Khukhan Public Health Professionals). (2024). Khukhanpho.com. https://www.khukhanpho.com/p/2565.html