ชนชาติพันธุ์ดั้งเดิมของเมืองขุขันธ์ ในอดีตประกอบด้วย 4 ชนชาติพันธุ์ ได้แก่ เขมร กูย(กวย) ลาว และเยอ แต่ต่อมาเมื่อทางการได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองและรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดิน โดยแบ่งพื้นที่เดิมของเมืองขุขันธ์ออกเป็นเมือง( เมืองศีร์ษะเกษ ,เมืองมโนไพร หรือมลูไพร จ.พระวิหาร, เมืองอุทุมพรพิสัย(หรือบ้านกันตวด จ.พระวิหาร) , เมืองกันทรรักษ์(ตำบลห้วยลำแสนไพรอาบาล จ.พระวิหาร และเมืองเดชอุดม นอกจากนี้อาณาเขตของเมืองขุขันธ์ ในอดีต ยังครอบคลุมถึงเขตอำเภอเดชอุดม อำเภอบุณฑริก ซึ่งรวมพื้นที่ของอำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย และกิ่งอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบันนี้ด้วย ) จนวิวัฒน์ลงมาเป็นอำเภอในปัจจุบัน จากข้อมูลผลการสำรวจชนชาติพันธุ์และการพูดภาษาถิ่นส่วนใหญ่ รายตำบลในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559 พบข้อมูล ดังนี้
ชาวเมืองขุขันธ์ ได้แก่ ชนชาติพันธุ์ ใดบ้าง ?
เมืองขุขันธ์ ในปัจจุบันเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จากข้อมูลการสำรวจข้างต้น จะพบว่า ชนชาติพันธุ์หลักดั้งเดิมในอำเภอขุขันธ์ ส่วนใหญ่ ได้แก่ เขมร กูย และลาว ซึ่งถ้าหากสำรวจนับจริงๆ แล้วประกอบด้วย 6 ชนชาติพันธุ์ ดังนี้
– ชนชาติพันธุ์เขมร มีจำนวน 189 หมู่บ้าน
– ชนชาติพันธุ์กูย มีจำนวน 45 หมู่บ้าน
– ชนชาติพันธุ์ลาว มีจำนวน 42 หมู่บ้าน
– ชนชาติพันธุ์เยอ พบอาศัยอยู่กับเขมร กูย และลาว
– ชนชาติพันธุ์จีน และ ชนชาติพันธุ์แกว ซึ่งส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่ในตัวอำเภอขุขันธ์และบางตำบลของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
– ชนชาติพันธุ์เขมร มีจำนวน 189 หมู่บ้าน
– ชนชาติพันธุ์กูย มีจำนวน 45 หมู่บ้าน
– ชนชาติพันธุ์ลาว มีจำนวน 42 หมู่บ้าน
– ชนชาติพันธุ์เยอ พบอาศัยอยู่กับเขมร กูย และลาว
– ชนชาติพันธุ์จีน และ ชนชาติพันธุ์แกว ซึ่งส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่ในตัวอำเภอขุขันธ์และบางตำบลของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ชนชาติพันธุ์ ทั้ง 6 ชนชาติพันธุ์ อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมาเนินนาน ซึ่งแต่ละชนชาติพันธุ์ก็มีแนวปฏิบัติในวิถีชีวิตการดำรงชีวิต ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป แต่ชาวขุขันธ์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และหนึ่งในกิจกรรมงานบุญประเพณีอันแสดงออกถึงพลังแห่งความสมัครสมานสามัคคี และความกตัญญูของชาวเมืองขุขันธ์ คือ บุญประเพณีแซนโฎนตา ซึ่งจัดให้มีขึ้นในเดือน 10 ของทุกปี จนเป็นเทศกาลประจำปีของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
หมายเหตุ
ผู้เรียบเรียง
หมายเหตุ
ชนชาติพันธุ์กูย อำเภอขุขันธ์ แบ่งกลุ่มตามศัพท์สำเนียงพูดที่คล้ายกัน ออกเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ๆ ดังนี้
1. กลุ่มกูยกระโพธิ์ ( កួយកា័លពោធិ៍ )ได้แก่ ตำบลจะกง ,ตะเคียน ,ดองกำเม็ด,ตาอุด,ลมศักดิ์ ,กันทรารมย์ และหนองฉลอง
2. กลุ่มกูยปรือใหญ่ ( កួយកោះពឺត ) ได้แก่ ตำบลปรือใหญ่ ,นิคมพัฒนา และศรีตระกูล
ผู้เรียบเรียง
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์(29/4/2561)