ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560

รถยนต์รุ่นแรกที่มีใช้ในขุขันธ์ เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2495

         เมื่อกล่าวถึงยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง และสัญจรไปมาหาสู่กันในอดีตของเมืองขุขันธ์ก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "เกวียน" แต่ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2495 เป็นครั้งแรกของอำเภอขุขันธ์ และของจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้มีรถยนต์ถูกนำเข้ามาใช้ในการขนส่งสินค้าเป็นครั้งแรก คือเป็นประเภท "รถจี๊ป" ซึ่งเป็นรถยนต์แบบหนึ่งที่ใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แทบทุกภูมิประเทศ และมีความคล่องตัวสูง ลักษณะเป็นรถจี๊ป 4ล้อ มีสโลว์หน้า- หลัง พร้อมวิลล์ เป็นของรถจี๊ปของร้านเจริญชัย   เจ้าของรถชื่อ นายกิมใช้ แซ่เจี่ย ได้ซื้อรถจี๊ปมือสองจากจังหวัดจันทบุรี ในราคา 10,000 บาท นำมาขับเพื่อรับจ้างขนสินค้าต่างๆ อาทิเช่น ข้าวเปลือก ผลผลิตจากป่า ครั่ง น้ำผึ้ง ชัน ขี้ซี่* น้ำมัน ยาง งาช้าง หนังสัตว์ นำไปขายยังจังหวัดศรีสะเกษ และเมื่อขากลับก็จะขับรถจี๊ปคันนี้ ขนสินค้าจำเป็น เช่น เสื้อผ้า ฝ้าย เกลือ ปลาทูเค็ม ปลาร้า น้ำมันก๊าด น้ำปลา อื่นๆวิ่งส่งสินค้า จากศรีสะเกษ ขุนหาญ กันทรลักษ์ ขุขันธ์ และสิ้นสุดปลายทางที่บ้านละลม

ในภาพคือนายกิมใช้ แซ่เจี่ย เนื่องจากช่วงสมัยนั้นมีการจับกุมคอมมิวนิสต์
คนจีนที่ไปแถวบ้านห้วย ทำนบ บ้านธาตุ จะถูกสงสัยว่าคบคิดกับพวกเขมร
จึงได้เปลี่ยนชื้อเป็น นายศักดิ์ชัย เจริญศรี ถือสัญชาติไทยในที่สุด
ที่มา :
- ขอบพระคุณข้อมูลจาก นายสมคิด เจริญศรี
- http://www.royin.go.th/dictionary/

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย