ขอบคุณภาพถ่ายจากหน้าเวปฯศาลจังหวัดศรีสะเกษ http://www.sskc.coj.go.th/ |
ศาลจังหวัดขุขันธ์ เคยถูกตั้งขึ้นครั้งแรก และเริ่มรับฟ้องบังคับอรรถคดีตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2458 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีอำนาจรับฟ้องพิพากษาคดีแพ่งและดีอาญาได้ตลอดอาณาเขตในท้องที่ได้ ตามพระธรรมนูญศาลหัวเมือง รัตนโกสินทรศก 127 โดยมีนายกิม เสง เนติบัณฑิตเป็นผู้พิพากษา และนายช่วง เป็นผู้พิพากษารอง (1)
จวนผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๕๐ |
แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 มีการเปลี่ยนนาม โดยให้เปลี่ยนนามจังหวัดขุขันธ์ เป็นจังหวัด ศีร์ษะเกษ ตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481 ซึ่งเน้นเปลี่ยนแต่นามจังหวัดขุขันธ์ เพียงจังหวัดเดียวเท่านั้น จังหวัดอื่นๆนอกนั้นเปลี่ยนแต่นามอำเภอบางแห่ง(2)
และเมื่อได้มีการเปลี่ยนนามจังหวัดขุขันธ์ไปโดยสิ้นเชิงแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2481 จึงได้มีประกาศกระทรวงยุตติธรรม เรื่องเปลี่ยนนามศาลจังหวัดขุขันธ์ เป็นศาลจังหวัดศีร์ษะเกษ ในที่สุด(3) ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ศาลจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน ก็คือ ศาลจังหวัดขุขันธ์ในอดีต นั่นเอง
เอกสารอ้างอิง
(1) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 32 หน้า 148 วันที่ 8 สิงหาคม 2458 ประกาศตั้งศาลจังหวัดขุขันธ์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/148.PDF
(2) พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/A/658.PDF
(3) ประกาศกระทรวงยุตติธรรม เรื่องเปลี่ยนนามศาลจังหวัดขุขันธ์ เป็นศาลจังหวัดศีร์ษะเกษ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/2831.PDF
หมายเหตุ
- ปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนตำแหน่ง เจ้าเมืองขุขันธ์ เป็นตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์
- ปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ ย้ายเฉพาะศาลากลางเมืองขุขันธ์ จากที่ตั้งเดิม(อำเภอเมืองขุขันธ์) ไปตั้งบริเวณศาลากลางเมืองศีร์ษะเกษ แต่ยังคงใช้ชื่อ ศาลากลางเมืองขุขันธ์ ส่วนพื้นที่อำเภอเมืองขุขันธ์ยังอยู่ที่ตั้งเดิม
- ปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ ยุบเมืองศรีสะเกษและเมืองเดชอุดม โดยให้อำเภอที่ขึ้นกับเมืองทั้งสองไปขึ้นกับเมืองขุขันธ์
- ปีพุทธศักราช ๒๔๕๘ ประกาศตั้งศาลจังหวัดขุขันธ์ ในเมืองขุขันธ์ ก่อนเปลี่ยนชื่อเมืองขุขันธ์ เป็น จังหวัดขุขันธ์
- ปี พุทธศักราช ๒๔๕๙ โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อเมืองขุขันธ์ เป็นชื่อจังหวัดขุขันธ์
- ปี พุทธศักราช ๒๔๖๐ เปลี่ยนชื่ออำเภอเมืองขุขันธ์ เป็น อำเภอห้วยเหนือ คลิก
- ปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นชื่อจังหวัดศีร์ษะเกษ เปลี่ยนชื่อ อำเภอห้วยเหนือ เป็นชื่อ อำเภอขุขันธ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
- ปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ ประเทศของเราเดิมชื่อ ประเทศสยาม เปลี่ยนชื่อมาเป็น ประเทศไทย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เช่นกัน โดยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482/ค.ศ.1939 (หรือ 78 ปีมาแล้ว นับถึงปี พ.ศ. 2560) รัฐบาลของนายพลตรีหลวงพิบูลสงคราม (ต่อมาสถาปนาเป็นจอมพล ป. ซึ่งเป็นปีกขวาของ “คณะราษฎร” และเป็นผู้พัฒนาให้เกิด “ระบอบอํามาตยาธิปไตย/อํานาจนิยมอันมีบรรดาจอมพล และพลเอกเป็นผู้นํา”) ได้ประกาศ “รัฐนิยม” ให้เปลี่ยนนามประเทศจาก “สยาม” เป็น “ประเทศไทย และ Siam เป็น Thailand” โดยให้เหตุผลด้วยหลักการของ “ลัทธิเชื้อ-ชาตินิยม” ว่า “รัฐบาลเห็นสมควรถือเป็นรัฐนิยมให้ใช้ชื่อประเทศให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติและความนิยมของประชาชน” ...
หมายเหตุ
- ปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนตำแหน่ง เจ้าเมืองขุขันธ์ เป็นตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์
- ปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ ย้ายเฉพาะศาลากลางเมืองขุขันธ์ จากที่ตั้งเดิม(อำเภอเมืองขุขันธ์) ไปตั้งบริเวณศาลากลางเมืองศีร์ษะเกษ แต่ยังคงใช้ชื่อ ศาลากลางเมืองขุขันธ์ ส่วนพื้นที่อำเภอเมืองขุขันธ์ยังอยู่ที่ตั้งเดิม
- ปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ ยุบเมืองศรีสะเกษและเมืองเดชอุดม โดยให้อำเภอที่ขึ้นกับเมืองทั้งสองไปขึ้นกับเมืองขุขันธ์
- ปีพุทธศักราช ๒๔๕๘ ประกาศตั้งศาลจังหวัดขุขันธ์ ในเมืองขุขันธ์ ก่อนเปลี่ยนชื่อเมืองขุขันธ์ เป็น จังหวัดขุขันธ์
- ปี พุทธศักราช ๒๔๕๙ โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อเมืองขุขันธ์ เป็นชื่อจังหวัดขุขันธ์
- ปี พุทธศักราช ๒๔๖๐ เปลี่ยนชื่ออำเภอเมืองขุขันธ์ เป็น อำเภอห้วยเหนือ คลิก
- ปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นชื่อจังหวัดศีร์ษะเกษ เปลี่ยนชื่อ อำเภอห้วยเหนือ เป็นชื่อ อำเภอขุขันธ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
- ปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ ประเทศของเราเดิมชื่อ ประเทศสยาม เปลี่ยนชื่อมาเป็น ประเทศไทย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เช่นกัน โดยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482/ค.ศ.1939 (หรือ 78 ปีมาแล้ว นับถึงปี พ.ศ. 2560) รัฐบาลของนายพลตรีหลวงพิบูลสงคราม (ต่อมาสถาปนาเป็นจอมพล ป. ซึ่งเป็นปีกขวาของ “คณะราษฎร” และเป็นผู้พัฒนาให้เกิด “ระบอบอํามาตยาธิปไตย/อํานาจนิยมอันมีบรรดาจอมพล และพลเอกเป็นผู้นํา”) ได้ประกาศ “รัฐนิยม” ให้เปลี่ยนนามประเทศจาก “สยาม” เป็น “ประเทศไทย และ Siam เป็น Thailand” โดยให้เหตุผลด้วยหลักการของ “ลัทธิเชื้อ-ชาตินิยม” ว่า “รัฐบาลเห็นสมควรถือเป็นรัฐนิยมให้ใช้ชื่อประเทศให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติและความนิยมของประชาชน” ...