ตัวอย่างเสียงพูดภาษากูย ของชนชาติพันธุ์กูย
ที่บ้านตะดอบ ตำบลตะดอบ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
ที่บ้านตะดอบ ตำบลตะดอบ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
ขบวนเกวียน, จังหวัดขุขันธ์* ปี ค.ศ.1936 (พ.ศ.2479)
ช่างภาพ Pendleton, Robert Larimore ภาพจาก UWM Libraries
ช่างภาพ Pendleton, Robert Larimore ภาพจาก UWM Libraries
ลองฟัง...สำเนียงพูดของชนชาติพันธุ์ลาวในศรีสะเกษมีลักษณะพิเศษ
ไม่เหมือนคนไทอีสานถิ่นอื่นๆในภาคอีสาน จนทำให้คนไทอีสานถิ่นอื่นๆหรือจังหวัดอื่นๆ
ในภาคอีสานเมื่อ 60-80 ปีที่ผ่านมา มักนิยมเรียกชนชาติพันธุ์ลาวในศรีสะเกษว่า
"ส่วย" ในที่สุด ทั้งที่จริงๆเขาก็เป็นไทอีสานเช่นเดียวกัน
และหลักฐานที่ยืนยันว่าชนชาติพันธุ์กูย กวยเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ พระอัยการอาญาหลวง พ.ศ. 1976 กล่าวถึงในการห้ามหญิงไทยกับคนต่างด้าวในปี พ.ศ 1976 (ตรงกับรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ เจ้าสามพระยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิ-ครั้งที่ 2 แห่งกรุงศรียุธยา เริ่มครองราชพ.ศ.1967 -สิ้นสุดราชกาล พ.ศ.1991 )มีการบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติมพระอัยการอาญาหวงห้ามหญิงไทยแต่งงานกับคนต่างด้าว ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะในช่วงนั้นคนต่างชาติเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาคงมีการตั้งถิ่นฐานครอบครัวและคลังสินค้ากันในกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นไปได้ที่อาจจะมีหญิงไทยแต่งงานกับคนต่างด้าวบ้าง ด้วยความเป็นห่วงว่าหญิงไทยจะเอาความลับเกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองไปแจ้งให้กับสามีคนต่างด้าวทราบ และเกรงว่าหญิงไทยที่แต่งงานกับคนต่างด้าวและบุตรที่เกิดในภายหลังจะเข้ารีตไปนับถือศาสนาอื่น จึงมีตรากฎหมายเพิ่มเติมขึ้นมาว่า...
หลักฐานที่ยืนยันว่าชนชาติพันธุ์กูย กวยเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ พระอัยการอาญาหลวง พ.ศ. 1976 กล่าวถึงในการห้ามหญิงไทย แต่งงานกับคนต่างด้าวในปี พ.ศ 1976 |
ฟังคนสูงวัยให้พรลูกหลานเป็น ภาษากูยปรือใหญ่ โดยคุณพ่อเชื่อม ปรือปรัง บ้านนิคมเขต 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้พรลูกหลานเป็นภาษากูยปรือใหญ่ อันเป็นภาษาเก่าแก่ภาษาหนึ่งของชนชาติพันธุ์กูยโบราณนี้ในแถบอีสานใต้ติดเทือกเขาพนมดงรัก
กูยปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
កួយកោះពឺត หรือ កួយព្រៃធំ ស្រុកគោកខណ្ឌ ខេត្តស៊ីសៈកេត
Kuay Prue Yai, Khukhan District, Sisaket Province.
ดังนั้น "ส่วย" จึงมีความสําคัญต่อการค้าสําเภาและรายได้ของราชสํานักกรุงเทพฯ อย่างชัดเจน หากเมื่อใดมีการขาดหรือค้างส่งส่วยกรุงเทพฯ จะมอบหมายให้เมืองใหญ่ในบริเวณนั้นติดตามทวงเร่งรัดสิ่งของต่างๆ เช่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพรหมวงษาอุปหาตเมืองอุบลราชธานีได้มีใบบอกส่งส่วยผลเร่ว งาช้าง น้ำรัก ให้เมืองนครราชสีมาจัดบรรทุกโคลงไปส่งยังกรุงเทพพระมหานคร(4) เป็นต้น เกี่ยวกับเส้นทางในอีสานตั้งแต่เมืองที่ส่งส่วยผู้นําส่วยมา เวลาที่ออกจากเมืองต่างๆ ที่หยุดพัก แล้วออกจากเมืองเมื่อใด โดยเฉพาะเมืองที่เป็นท่าพักสองสาย คือ สายแรกทางบกผ่านเมืองนครราชสีมา และสระบุรี สายที่สอง ทางน้ำผ่านเมืองกบิลบุรี และปราจีน เมืองที่เป็นจุดแวะพักเหล่านี้จะต้องส่งใบบอกถึงรายละเอียดต่างๆ ไปยังกรุงเทพฯ อันประกอบด้วย ชื่อเมืองที่มาแวะพัก มาถึงเมื่อใด จัดเตรียมอะไรไว้ให้ ชั่งน้ําหนักส่วยได้เท่าไร เก็บภาษีอะไรบ้าง ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งการมีใบบอกมาเป็นระยะๆ เช่นนี้ ก็ยังมีประโยชน์ต่อกรุงเทพฯ ในแง่ของการใช้ท้องถิ่นตรวจสอบซึ่งกันและกันอีกทางหนึ่งด้วย(5)
ภาพแผนที่แบ่งเขตแดนฝรั่งเศส -สยาม พ.ศ. 2424 (ค.ศ.1881) สมัย ร.5 ในยุคที่ขุขันธ์ สุรินทร์ สังขะ ขณะที่ยังมีสถานะเป็นเมือง แสดงให้เห็นที่อาศัยดั้งเดิมของชนชาติพันธุ์ต่างๆได้ละเอียดดีมาก โดยเฉพาะในแผนที่ฝรั่งเศส ในช่วง พ.ศ.2424 นี้ แถบพื้นที่ 3 เมืองนี้ ฝรั่งเศสใช้ข้อความว่า KOUYS เพื่อบอกว่ายุคที่เดินทางสำรวจทำแผนที่นั้น พบมีชนชาติพันธุ์กูย/กวย อาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯ กับอีสาน ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2433 เห็นได้ชัดว่าทั้งสองพื้นที่มีความสัมพันธ์ต่อกันผ่านระบบของการเกณฑ์ส่วย และบรรณาการเท่านั้น สยามไม่ได้มีอํานาจเบ็ดเสร็จ และสมบูรณ์เหนือพื้นที่บริเวณอีสาน หากแต่อํานาจของสยาม มีในบริเวณอีสานได้โดยผ่านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองจากส่วนกลาง กับเจ้าเมือง กรมการ หรือเจ้าประเทศราชเพียงเท่านั้น ความคิดของชนชั้นนําสยามที่มีต่อพื้นที่อีสานจึงถูกจํากัดอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ของอํานาจการปกครองดังกล่าว ต่อมาในช่วงหลังปี พ.ศ. 2433 - พ.ศ.2475 เป็นช่วงที่สยามได้ก้าวสู่การเป็นรัฐสยามใหม่ ความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลานี้ จึงมีลักษณะที่สอดคล้องกับการดึงอํานาจเข้าสู่ศูนย์กลางของกรุงเทพฯ อย่างชัดเจน การเดินทางในบริเวณอีสานของชนชั้นนําสยาม ถูกบอกเล่า และตีพิมพ์เพื่อแลกเปลี่ยนกันในหมู่ชนชั้นนําอย่างแพร่หลายผ่านวารสารต่างๆ อาทิ วชิรญาณวิเศษ เทศาภิบาล วิทยาจารย์ รวมไปถึงการให้เจ้านายท้องถิ่นเขียนและส่งเข้ามายังกรุงเทพฯ อีกเป็นจํานวนมากแสดงถึงความสนใจในเรื่องอีสานของชนชั้นนําสยามที่มีเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
สำหรับคำที่ใช้เรียกชนชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเองคือ กูย หรือ กวย เป็นคำนาม เมื่ออยู่โดดๆ ไม่ได้แปลว่า คน หรือ ใคร เพียงเท่านั้น แต่หมายถึง ชื่อเรียกชนชาติพันธุ์เก่าแก่ชนชาติพันธุ์หนึ่งซึ่งมีอารยธรรมอันดีงามร่วมกันกับชนเผ่าอื่นในดินแดนสุวรรณภูมิ เช่นชาวกูยในจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอื่นๆแถบอีสานใต้ในปัจจุบัน และในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชาและลาว ก็ยังพบชนชาติพันธุ์นี้อาศัอยู่กันเป็นจำนวนมากหลายหมู่บ้านตำบล และนอกจากนี้ คำว่า กูย ยังหมายรวมถึง ภาษากูย อีกด้วย ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดคุยสื่อสารกันในชีวิตประจำวันที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้
ตัวอย่างเสียงพูดภาษากูย ของชนชาติพันธุ์กูย ที่จังหวัดพระวิหาร
(សូមអញ្ជើញស្តាប់សំឡេងនិយាយភាសាកួយរបស់ជនជាតិកួយ នៅខេត្តព្រះវិហារ)
(សូមអញ្ជើញស្តាប់សំឡេងនិយាយភាសាកួយរបស់ជនជាតិកួយ នៅខេត្តព្រះវិហារ)
ข้อมูลชาติพันธุ์วิทยา ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดสุรินทร์(21 ตุลาคม 2561)
ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) เรียกว่า กูย หรือ กวย |
1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี ต้องการจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งทราบกันดีแล้วว่าเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์
2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร เช่น คำว่า “ลัวะ” ถูกใช้ในความหมายที่ครอบคลุมกลุ่มชนที่มีอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมแตกต่างกัน (รวม ลเวือะ ลัวะ และปลังเข้าด้วยกัน)
แต่ทว่า...หากพวกท่านยังต้องการ(ยัดเยียด)ให้ประชาชนชาวกวย/กูย ในอำเภอหรือจังหวัดของท่านเป็นส่วยต่อไป...ก็จงเรียกกันต่อไปเถอะ...เราจะขอบันทึกชื่อท่านไว้ว่าท่านเป็นคนหนึ่งที่ยังเข้าใจผิด...และยัดเยียดคำว่า"ส่วย" ให้ชนชาติพันธุ์กลุ่มนี้...ทั้งๆที่ข้อเท็จจริงแล้ว ทุกชนชาติพันธุ์ในภาคอีสานบ้านเราต่างประสบกับวาทะกรรมนี้ร่วมกันมาตั้งแต่ในอดีตนานมากว่า 250 ปีแล้ว...เหมือนๆกับที่เราควรเลี่ยงไม่ใช้คำว่า “เจ๊ก” สำหรับคนไทยเชื้อสายจีนไม่ว่าแต้จิ๋ว กวางตุ้ง แคะ ฮกเกี้ยน ไหหลำ หรือหลีกเลี่ยงไม่ใช้คำว่า “ญวน” สำหรับคนเวียดนาม หรือคำว่า “แม้ว” สำหรับ “ม้ง” ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
REFERENCE :
(1) หอสมุดแห่งชาติ,หมู่จดหมายเหตุ รัชกาลที่ 1 จ.ศ. 1144 เลขที่ 7 ก สําเนาศุภอักษรเมืองเวียงจันทน์ . อ้างถึงใน ธีรชัย บุญมาธรรม, ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของหัวเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2336-2450, หน้า 34.
(2) หอสมุดแห่งชาติ, จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1026 เลขที่ 184 เรื่องสารตราเรื่องขุนอินอํานาจ ขุนศรีสุระฯ ยื่นเรื่องราวเลกไพร่หลวงอพยพหลบหนี, อ้างถึงใน อุศนา นาศรีเคน, อีสานในการรับรู้และทัศนะของผู้ปกครองกรุงเทพฯ ตั้งแต่หลังกบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369 ถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475, หน้า 101.
(3) วราภรณ์ ทิวานนท์, “การค้าสําเภาของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น”, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา
ประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522), หน้า 38-39.
(4) วราภรณ์ ทิวานนท์, “การค้าสําเภาของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น”, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522), หน้า 38-39.
(5) อุศนา นาศรีเคน,อีสานในการรับรู้และทัศนะของผู้ปกครองกรุงเทพฯ ตั้งแต่หลังกบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369 ถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475, หน้า 66-67.
(6) https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระรามาธิบดีที่_2
- "The Kuy People of Laos". Southeast Asian Peoples Research Center. Retrieved October 8, 2013.
- ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) http://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/ethnic_classification.php
- https://www.wikidata.org/wiki/Q4444914
- https://en.wikipedia.org/wiki/Kuy_people