ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2567

เมื่อปี พ.ศ. 2424 เมืองขุขันธ์ ( KOUKANE ) อยู่ ณ พิกัดที่ตั้งเดิมในปัจจุบัน เคียงคู่กับ เมืองกันทรารมย์ ( Kantararom ) ในอดีต

         ในแผนที่อินโดจีนตะวันออก (CARTE L'INDO-CHINE ORIENTALE) ปรับปรุงโดย MAJ.L.DUTREUIL DE RHINS PUBLIÉE ภายใต้การควบคุมกำกับโดยนายพล JAUREGUIBERRY หน่วยคลังแผนที่และแผนที่ทางทะเล ฝรั่งเศส ค.ศ.1881/พ.ศ. 2424 เป็นยุคสมัยที่ เมืองขุขันธ์ ( KOUKANE ) อยู่ ณ พิกัดที่ั้ตั้งเดิมในปัจจุบัน เคียงคู่กับ เมืองกันทรารมย์ ( Kantararom ) ทางด้านทิศตะวันตก (ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2415 ต่อมาปี พ.ศ. 2450 ได้ถูกลดฐานะเป็นตำบลกันทรารมย์ ขึ้นตรงต่อจังหวัดขุขันธ์ ) ซึ่งยุคนั้นเมืองที่ขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของเมืองสังขะ พบคำว่า R.Samlance ออกเสียงตาม ภาษาขอมขุขันธ์ ได้ว่า โอรสัมลัญ หรือ ลำห้วยสำลัญ แปลเป็นภาษาไทยว่า ลำห้วยแห่งความรักสนิทสนมกลมเกลียว หรือ ลำห้วยแห่งมิตรภาพ ซึ่งคือชื่อดั้งเดิมที่เพี้ยนมาเป็นชื่อเรียกของสายน้ำที่เรียกว่า ห้วยสำราญ ในปัจจุบัน

ในยุคสมัยนั้น ลำห้วยสำราญ มีความสำคัญมาก กล่าวคือ ถูกใช้เป็นแนวเขตกั้นระหว่างเขตเมืองสังขะกับเมืองขุขันธ์) นั่นเอง
และหากดูจากแผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ.1881/พ.ศ. 2424 ฉบับนี้ ในยุคสมัยนั้น จะพบว่า เมืองเสียมเรียบ พระตะบอง และ ศรีโสภณ อยู่ในพื้นที่เขตปกครองของราชอาณาจักรสยาม และพบเส้นทางเดินของบรรพชนชาวสยาม ชาวเมืองเมืองขุขันธ์ และ ชาวเมืองกันทรารมย์ ในอดีต ได้ใช้เดินทางไปมาหาสู่กัน ข้ามเทือกเขาพนมดงเร็กเข้า ผ่านเปร็ยสะอาก (Frey saa^ (ou Forêt magnifique) Plateau ondulé compétement désert) ซึ่งเป็นป่าที่สวยงามและมีความอุดมสมบูรณ์มาก เป็นป่ารกชัฏ ถ้าหากมองขึ้นไปยังยอดต้นไม้ตลอดทั้งผืนป่าแทบจะไม่ไม่เห็นดวงตะวัน และมีสัตว์ป่าน้อยใหญ่อาศัยอยู่จำนวนมาก เข้าสู่ #เมืองเสียมเรียบ อันเป็นที่ตั้งของปราสาทนครวัดและเมืองพระนครธรรม ในอดีต (ปัจจุบันชาวเขมร เรียก អង្គរវត្ត​ /​อ็องโกร์เวื็อด - อ็องโกร์ธม/ หรือนครวัด-นครธม นั่นเอง)

หมายเหตุ
การสะกดคำ (Orthographe) ตอนท้ายของสัญลักษณ์ของแผนที่ได้ระบุว่า คณะผู้เขียนแผนที่พยายามเขียนชื่อสถานที่ให้ใกล้เคียงการออกเสียงเรียกชื่อสถานที่แห่งนั้นๆของคนในท้องถิ่นในยุคสมัยนั้นให้มากที่สุด
อ้างอิง : 
#ขอบคุณที่มาของแผนที่ จาก Large scale detailed old map of Indochina - 1881. (2024). Mapsland.com. https://www.mapsland.com/asia/thailand/large-scale-detailed-old-map-of-indochina-1881

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย