-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

The Khom Alphabet in Thailand and Khom Khukhan. ภาษาขอมในประเทศไทย และภาษาขอมขุขันธ์

               The Khom Alphabet was written that Siam or Thai people have brought from Palawan alphabet. By applying and having to Invent a new font began to use the Khom script since before the establishment of the Thai Kingdom. To  be used as a nation of self has developed the font style according to the modern era by using Khom and Thai characters together in both forms Khom letters are separated into Khom and Thai Khom characters. Therefore, the language we used to write will have two languages, namely Khom and Thai. The language used to write about Theravada Buddhism in Thailand is written only in Khom script. By writing with the letter of Khom Pali, Khom Thai and Khom Isan alphabet because it is believed to be a sacred language  and is high, most using in religious affairs. Khom Pali is used to write Pali language. Khom Isan is used to write  in palm leave scriptures and Koi notebooks  in northeastern area, especially in the south eastern region. And Khom Thai is used to write Thai language, which the characters are different from other Khom characters. 
               Later, Khom Thai script was replaced by Thai script. Khom script is also used to write Pali language all the time, although there was the development of the Thai script and Ariyaka script to write the Pali language.  Later, the Khom Thai script was cancelled in the reign of Field Marshal Pleak Pibulsongkram.
               At present, there is no formal teaching and learning, which will make the ancient Khom language that has been with Thai people for a long time, starting to decline by default. Which is a pity that Thai heritage must be lost, therefore, should preserve the Thai heritage with the Thai people for as long as possible.
               However, the Khom language, especially Khom Isan is still written in palm leave scriptures  and Koi notebooks.  They used to record Buddhist sermons, stories traditions, literature, folk tales, as well as medical texts and various ancient subjects, in the southeast region of Thailand. The Khom language, especially the Khom Isan is also taught accordingly in various temples in southeastern provinces of Thailand, especially in Khukhan district, Sisaket province, the Khom language is still used to preach at various temples every year until now. The khom language has further developed to increase value of the characters for printing in the computer system, especially Khom Isan in Khukhan district, Sisaket  province to be be called Khom khukhan. Recently,Khukhan district cultural council  together with the clergy of Khukhan district has been prepared as a universal unicode font. It is called Khom Khukhan fonts for printing and preserving Buddhist information, beautiful traditions, folk literature as well as medicine texts and various ancient subjects in the south Isan area in order to continue, to maintain, to pass on pride with the next generation forever.
 
Compiled by Khukhan Historical Committee 
- Prarajpariyatyathorn (Sinuan Phandito), Advisor to the Sisaket Provincial Clergy,
                                                                                 the abbot of Wat Klang Khukhan
- Pra Kru PisitDhammanusart, Advisor to Cheif of Khukhan district clergy
- Pramaha Mungkorn Kuntapunyo, Cheif of Khukhan district clergy
- Dr.Wacharin Sonpud, Chairman of Khukhan district cultural council
- Mr.Theratchaphat Yothong, Assistant to chairman of Khukhan district cultural council
- Asst.Prof.Dr.Pring Petchluan, Member of Khukhan district cultural council
- Mr.Thertsak Sermsri, Chairman of Lamphu temple committee
- Mr.Nitiphum Khukhandhin, Member of Khukhan district cultural council

Thai to English Translation
- Asst.Prof.Dr.Pring Petchluan, Member of Khukhan district cultural council

Reviewer and Illustration
- Mr.Supian Khamwongs, Secretary of Khukhan district cultural council

           อักษรขอม เป็นอักษรที่ชาวสยาม หรือ คนไทยในอดีตได้พัฒนามาจากอักษรหลังปัลลวะ และอักษรปัลลวะอีกทีหนึ่ง โดยนำมาประยุกต์ใช้และมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นมาใหม่  ชาวสยามได้เริ่มใช้อักษรขอมมาตั้งแต่ก่อนก่อตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้นมา  เพื่อนำมาใช้เป็นของชนชาติตนเอง มีการพัฒนารูปแบบอักษรมาตามยุคตามสมัย โดยใช้อักษรขอมและอักษรไทยควบคู่กันไปทั้งสองแบบ อักษรขอมมีการแยกเป็นอักษรขอมบาลี  อักษรขอมไทย และอักษรขอมอีสาน ดังนั้น ภาษาที่เราใช้เขียนในยุคนั้นจะมีอยู่สองภาษาคือ ภาษาขอม และ ภาษาไทย  ซึ่งภาษาที่เขียนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทยจะเขียนด้วยอักษรขอมเท่านั้น โดยเขียนด้วยอักษรขอมบาลี  อักษรขอมไทย และอักษรขอมอีสาน  เพราะมีความเชื่อว่าเป็นภาษาและอักษรที่ศักดิ์สิทธิ์  เป็นของสูง ใช้ในงานด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่  อักษรขอมที่ใช้เขียนภาษาบาลีเรียก อักษรขอมบาลี  อักษรขอมที่ใช้เขียนจารจารึกบนคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อยในพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะแถบจังหวัดอีสานใต้ เรียก อักษรขอมอีสาน  ส่วนที่ใช้เขียนภาษาไทยเรียก อักษรขอมไทย  ซึ่งมีอักขรวิธีต่างจากอักษรขอมกลุ่มอื่นๆ 
             ต่อมา อักษรขอมไทย ถูกแทนที่ด้วย อักษรไทย ส่วน อักษรขอมบาลี ยังคงใช้เขียนภาษาบาลีเรื่อยมา แม้จะมีการพัฒนาอักษรไทยและอักษรอริยกะมาเขียนภาษาบาลีก็ตาม  และต่อมาอักษรขอมไทย ก็ได้ถูกยกเลิกไปในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม    ทำให้ในปัจจุบันไม่มีการเรียนการสอนภาษาขอมแบบเป็นทางการทำให้ภาษาขอมที่มีมาแต่โบราณกาลที่เคยอยู่กับชาวสยาม หรือคนไทยในอดีตมานานเริ่มเสื่อมสลายไปโดยปริยาย   ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่มรดกของเราจะต้องค่อยๆสูญหายไป ดังนั้น จึงควรที่จะรักษามรดกของเราเอาไว้คู่กับชาวสยาม หรือคนไทยให้นานที่สุด
             จะอย่างไรก็ตาม ภาษาขอม โดยเฉพาะ ภาษาขอมอีสาน ก็ยังพบใช้จารจารึกบนคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อยซึ่งนิยมใช้บันทึกบทเทศนา และเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี วรรณกรรม นิทานพื้นบ้าน ตลอดจนตำรายา  และสรรพวิชาโบราณต่างๆแถบอีสานใต้  และนอกจากนี้  ภาษาขอม โดยเฉพาะ ภาษาขอมอีสาน ก็ยังคงมีการเรียนการสอนตามวัดต่างๆในจังหวัดแถบอีสานใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  ยังมีการใช้ภาษาขอมในการเทศนาตามวัดต่างๆเป็นประจำทุกปี มาตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งเดี๋ยวนี้  และได้พัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่าเป็นตัวอักษรใช้พิมพ์บนระบบคอมพิวเตอร์  โดยเฉพาะภาษาขอมอีสาน ที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาขอมขุขันธ์   ล่าสุดสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ร่วมกับ คณะสงฆ์อำเภอขุขันธ์ ได้จัดทำเป็นฟอนต์ยูนิโค้ดสากล ชื่อว่า ฟอนต์ขอมขุขันธ์ (Khom Khukhan Fonts) เพื่อใช้สำหรับการพิมพ์อนุรักษ์รักษาบันทึกข้อมูลเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม  และวรรณกรรมพื้นบ้าน  ตลอดจนตำรายาและสรรพวิชาโบราณต่างๆแถบอีสานใต้สืบสาน รักษา ต่อยอดส่งต่อความภาคภูมิใจให้คงอยู่กับอนุชนรุ่นหลังตลอดไป

เรียบเรียง :  คณะกรรมการฝ่ายประวัติศาสตร์เมืองขุขันธ์
พระราชปริยัตยาทร (ศรีนวล ปณฺฑิโต ป.ธ.๕)
             ที่ปรักษาเจ้าคณะจ.ศรีสะเภษ  เจ้าอาวาสวัดกลางขุขันธ์
พระครูพิศิษฏ์ธรรมานุศาสก์
            ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอขุขันธ์  อดีตเจ้าคณะอำเภอขุขันธ์  เจ้าอาวาสวัดปรือคัน
พระมหามังกร กนฺตปุญฺโญ (ป.ธ.๗ , น.ธ.เอก , พธ.บ.) 
             เจ้าคณะอำเภอขุขันธ์ เจ้าอาวาสวัดโคกโพน
ดร.วัชรินทร์  สอนพูด  ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายธีรัชพัฒน์ ย่อทอง รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
ผศ.ดร.ปริง  เพชรล้วน  กรรมการ /ฝ่ายประวัติศาสตร์  สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ 
นายเทอดศักดิ์  เสริมศรี  ประธานคณะกรรมการวัดบ้านลำภู / ผู้ทรงคุณวุฒิ
นายนิติภูมิ  ขุขันธิน  
กรรมการ /ฝ่ายประวัติศาสตร์  สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ 
คำแปลภาษาอังกฤษ  : 
ผศ.ดร.ปริง  เพชรล้วน  กรรมการ /ฝ่ายประวัติศาสตร์  สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
ตรวจทานและภาพประกอบ  :  นายสุเพียร  คำวงศ์   เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย