ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2563

พ.ศ. 2427 ยุคแห่งการเบี่ยงเบนข้อมูลทางประวัติศาสตร์เมืองศีร์ษะเกษออกจากเมืองขุขันธ์ ที่เคยอยู่เป็นส่วนหนึ่งภายใต้การปกครองในที่สุด

ในปี พ.ศ. 2427 เป็นยุคแห่งการเบี่ยงเบนข้อมูลทางประวัติศาสตร์เมืองศีร์ษะเกษออกจากเมืองขุขันธ์ ที่เคยอยู่เป็นส่วนหนึ่งภายใต้การปกครองในที่สุด ขอมูลจากเรื่องราวเมืองขุขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2428 ในบันทึกย่อหมายเหตุเกี่ยวกับลาว เมื่อ ปี ค.ศ. 1885 (ตรงกับ พ.ศ. 2428) ของ เอเตียน เอมอนิเยร์ NOTES SUR LE LAOS,1885 PAR ÉTIENNE AYMONIER SIXIÈME PARTIE (1) LES MÆUONGS KOUIS ET KHMÊRSSommaire ​80. Koukhan. ในหน้า 258. บรรทัดที่ 12 - 34 ความว่า

"ที่เมืองขุขันธ์ ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1884(พ.ศ. 2427) เราได้พบขบวนรถยนต์รับจ้างของชาวจีนจากเมืองสุรินทร์ จำนวน 51 คันถูกจ้างเหมาโดยคนจีนจากโคราช(Korat)เพื่อขนครั่ง ตามข้อมูลจากหลวงอุดม ผู้นำขบวนรถยนต์รับจ้างชาวจีนจากเมืองสุรินทร์(Souren) ความว่า ค่าจ้างขนส่งจากสุรินทร์-โคราช เพียงคันละ 3 ตำลึง(damling) 2 สลึง(sling) รถยนต์เดินทางขนส่งเป็นระยะเวลา 12 - 14 วัน เส้นทางคมนาคมผ่านด่านตาโป้ย(Dan Ta Pouï) และด่านพระไทร(Prah Chréy ) ได้รับการปรับปรุง ทำให้กำปงธมสตึงแสน มีระยะทางใกล้เมืองขุขันธ์มากกว่าไปเมืองโคราช

ในช่วงนี้ ได้มีผู้กล่าวอ้างว่า อดีตที่ตั้งศูนย์กลางเมืองขุขันธ์ อยู่ที่ บ้านรำดวล ในพื้นที่ของเมืองศีร์ษะเกษ แต่อย่างไรก็ตาม สร้อยต่อท้ายตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์ เช่น พระยาขุขันธ์ภักดี ศรีนครลำดวน (ศรีนคร คือ = çri nagara) เชื่อกันว่ามีที่มาจากชื่อของหมู่บ้านรำดวล (ซึ่งในขณะนั้น มีหลายหมู่บ้านที่ชื่อหมู่บ้านขึ้นต้นด้วย รำดวล เช่น บ้านรำดวลตรอเปียงสวาย เป็นต้น) และในเวลาต่อมาชาวลาวแห่งเมืองศรีสะเกษ ก็ได้ #เบี่ยงเบนข้อมูลทางประวัติศาสตร์ออกจากเมืองขุขันธ์ ที่เคยอยู่เป็นส่วนหนึ่งภายใต้การปกครองในที่สุด

และมีเหตุการณ์การปล้นสะดมเกิดขึ้นที่ด่านช่องทางผ่านเข้า-ออกเมืองขุขันธ์ทางด้านทิศใต้บริเวณเทือกเขาพนมดองเร็ก ในวันที่พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน(ท่านที่ ๘ ท้าววัง หรือ พระวิชัย - พุทธศักราช ๒๓๙๕ - ๒๔๒๖) ได้ถึงแก่กรรมเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.1883 (พ.ศ. 2426) และในเดือนมกราคม ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2426) โลงศพของท่านก็ยังคงตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ที่บ้าน ซึ่งถูกกั้นด้วยผ้าม่าน และเฝ้าศพโดยสตรีแม่ม่ายที่ล้วนสวมชุดขาวโกนศรีษะ ในระหว่างรอไฟพระราชทานเพลิงศพจากกรุงบางกอกนั้น และพระสงฆ์ได้ถูกนิมนต์มาสวดอภิธรรมศพทุกวัน..."

หมายเหตุที่มา

NOTES SUR LE LAOS,1885 บันทึกหมายเหตุเกี่ยวกับลาว 
PAR ÉTIENNE AYMONIER โดย...เอเตียน เอมอนิเยร์ 
SIXIÈME PARTIE (1) ตอนที่ 6 (1)
LES MÆUONGS KOUIS ET KHMÊRS เมืองกูยและเขมร
Sommaire ​80. Koukhan. 
สรุปย่อเรื่องที่ 80 គោកខណ្ឌ គោកខាន់​​​ 
โคกขัณฑ์ ​โคกขัน ขุขันธ์ khukhan


หน้า 255
KOU KHAN (เมืองขุขันธ์)
          ในเมืองขุขันธ์ ,เมืองสังขะ และเมืองสุรินทร์ ซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำมูล และเทือกเขาดองเร็ก ประชากรเป็นชนพื้นเมืองกูย(Kouie/Kouis) ผสมกับชาวเขมร(Khmêrs) และชาวลาว(Laociens)
          ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองขุขันธ์คือ เมืองสังขะ เป็นเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่ง มีระยะห่างจากเมืองขุขันธ์ ใช้เวลาเดินทาง 2 วัน ทางด้านทิศเหนือมีเมืองศีร์ษะเกษ ซึ่งใช้เวลาเดินทาง 2 วัน ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมืองอุบล ใช้เวลาเดินทาง 5 วัน ทางทิศตะวันออกมีเมืองเดช ซึ่งใช้เวลาเดินทาง 4 วัน เมื่อเดินทางไปทางทิศใต้เป็นระยะเวลา 3 วัน ถึงชายแดนเมืองกำปงสวาย โดยมีเมืองมลูไพรย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองขุขันธ์ แต่ตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่ไม่เหมาะสม

          สำหรับอีก 2 เมืองเล็ก ซึ่งถือได้ว่าเป็นอำเภอที่ขึ้นกับเมืองขุขันธ์ ได้แก่ เมืองอุทุมพร อยู่ทางทิศใต้ และเมืองพระกันทรารักษ์ อยู่ทางทิศตะวันออกเมืองขุขันธ์ ใช้เวลาเดินทาง 1 วัน

หน้า 256
         จากการเดินทางเราพบว่า เมืองขุขันธ์ เป็นที่อาศัยของชนพื้นเมืองกูยส่วนใหญ่ ได้แก่ Koui mahai(กูยมะไฮ) , Koui antor(กูยอันเติร) , Koui nhau(กูยเญอ) และ Koui melo(กูยมลอ) , ชาวเขมร และชาวลาว  จากข้อมูลที่มีจำนวนผู้มาลงทะเบียน 11,000 คนในเมืองนี้ ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าเกินความจริง  การเก็บภาษี คนโสดจะถูกเก็บส่วยเป็นจำนวน 2 เท่าของคนที่มีครอบครัวแล้ว สิ่งที่จะส่งเป็นบรรณาการให้ทางบางกอก ได้แก่ ของป่า 98 ชนิด มูลค่า 16 ตำลึง 2 บาท มีผู้ถูกเก็บส่วยจากที่ลงทะเบียนได้จำนวน 4,000-5,000 ราย โดยผู้ปกครองผู้มีบรรดาศักดิ์ คือ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครรมดวน เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองขุขันธ์ (Phya koukhan phakedey si nakhon, romduon phou samrach rachkan meuong Koukhan. ) 
         และนอกจากนี้   ยังมีผู้คนอีกกลุ่มหนึ่ง (ในที่นี้คือ กูยปรือใหญ่ หรือภาษากูยแถบนี้เรียกว่า កួយកោះពឺត /กูยเกาะฮฺปืด/ )ซึ่งรวมตัวกันอาศัยตั้งบ้านเรือนอาศัยบนบริเวณพื้นที่ลุ่มดอนอันอุดมสมบูรณ์ด้วยต้นไม้ กอไผ่ และต้นรมเจก (ภาษาเขมรว่า រំចេក ฝรั่งเศสเขียนตามเสียงชาวบ้านได้ว่า romchék ภาษาไทยแปลว่า ต้นลำเจียก)อันเป็นเป็นพื้นที่เหมาะแก่การทำนาและ สามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตดีกว่าพื้นที่บริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางทิศตะวันออกเฉียงใต้อยู่ระหว่างเมืองขุขันธ์ และพนมเวง(ภูเขายาว) หรือพนมดองเร็ก เมื่อราว 2 - 3 ปีก่อน(ก่อน พ.ศ. 2428 หรือ ค.ศ.1885) มีจำนวน 1,000 คน แต่ทุกวันนี้ลดลง พวกเขาเป็นชาวกูยที่สามารถอ่าน เขียนและพูดภาษาเขมรได้ดี และอีกหลายคนพยายามเรียนรู้ภาษาสยาม 

ภาพแผนที่แบ่งเขตแดนฝรั่งเศส -สยาม พ.ศ. 2424 (ค.ศ.1881) สมัย ร.5ในยุคที่ขุขันธ์  สุรินทร์  สังขะ ขณะที่ยังมีสถานะเป็นเมือง แสดงให้เห็นที่อาศัยดั้งเดิม
ของชนชาติพันธุ์ต่างๆได้ละเอียดดีมาก โดยเฉพาะในแผนที่ฝรั่งเศส ในช่วง พ.ศ.2424 นี้ แถบพื้นที่ 3 เมืองนี้ ฝรั่งเศสใช้ข้อความว่า
 KOUYS de KOUKANE เพื่อบอกว่ายุคที่เดินทางสำรวจทำแผนที่นั้น พบมีชนชาติพันธุ์กูย/กวย อาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมาก

              หมู่บ้านบึงมะลู เป็นตำบลเล็กๆตำบลหนึ่งทางทิศใต้ อยู่ค่อนไปทางทิศเหนือของภูเขาพนมดองเร็ก ประชาชนในหมุ่บ้านนี้ ประกอบอาชืพปลูกมะพร้าว และทำนาปลูกข้าวบ้างเล็กน้อย ชาวบ้านมักจะนำลูกมะพร้าวไปแลกเกลือที่บรรจุห่อกับชาวบ้านชำ(ภาษาเขมร ភូមិជាំ ภาษาฝรั่งเศสเขียน Chéam ตรงกับภาษาไทยว่า บ้านชำ ภาษาลาวว่า บ้านซำ ) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก นอกจากนี้ อีกหนึ่งอาชีพของชาวบ้านนี้ ก็คืออาชีพทำใบลานผิวเรียบจำหน่าย สำหรับนำไปจารคัมภีร์ใบลานภาษาพื้นที่อินโด-จีนอีกด้วย  ซึ่งทำมาจากต้นไม้ตระกูลปาล์มชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านชาวกูยในท้องถิ่นนั้น เรียกว่า กะเชง (khchêng ) ภาษาเขมรเรียกว่า เตรี็ยง (ภาษาเขมรเขียนว่า ទ្រាំង ภาษาฝรั่งเศสเขียนตามเสียงว่า treang ภาษาไทยเรียกว่า ลาน) พบขึ้นชุกชุมมากบริเวณพนมเสลิก(ภาษาเขมรเขียนว่า ភ្នំស្លឹក​ ภาษาฝรั่งเศสเขียนตามเสียงภาษาเขมรว่า phnom Slek) ซึ่งอยู่บริเวณแนวเทือกเขาพนมดองเร็กทางทิศตะวันตกของประสาทพระวิหาร นอกจากนี้ชาวบ้าน ยังนำมาทำเป็นตะกร้าเพื่อไว้นำไปแลกข้าวเปลือก โดยตะกร้าลาน 2 ใบ ต่อข้าวเปลือก 6 ถุง  ด้วยใบลานขนาดเท่าฝ่ามือนี้ เรายังสามารนำใบอ่อนมาถักทอเป็นเสื่อ และทำเป็นกระเป๋าได้อีกด้วย แต่สำหรับคำภีร์ใบลาน(សាស្ត្រា หรือ satras) ต้นฉบับมีการใช้ใบลานเก่าๆ ซึ่งปัจจุบันต้นไม้เหล่านี้หายากมากขึ้นแล้ว
หน้า 257
               นอกจากนี้ ยังมีพืชที่ภาษาเขมรเรียกว่า รุน (ภาษาเขมรเขียนว่า រុន​ ภาษาฝรั่งเศสเขียนตามเสียงภาษาเขมรว่า run ตรงกับภาษาไทย คือ ต้นคล้า) พบขึ้นชุกชุมมากแถบเทือกเขาพนมดองเร็ก ชาวบ้านนิยมนำมาสานเป็นแผ่นคล้ายเสื่อขายเป็นคู่(2ชิ้น) สำหรับนำไปกันห้อง ชาวบ้านที่อำเภอชรอง(Srok Chraung) ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองขุขันธ์(Koukhan) มีการปลูกพริกจำนวนมาก ขายจำนวน 1 ตันต่อสิบปอนด์

            ภูฝ้าย(Phnom Krebas พนมกฺรบาฮฺ) คือภูเขาแห่งฝ้าย(le mont du coton) ใช้ระยะเวลาเดินทางจากตัวเมือง(ขุขันธ์)ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 วัน ภูเขานี้มีขนาดเล็กสูงประมาณ 50 - 60 เมตร เมื่อเปรียบเทียบกับที่ราบโดยรอบ ทอดตัวยาวตามแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพื้นที่ซึ่งสามารถผลิตฝ้าย(de coton)และครั่ง(de laque)ได้เป็นจำนวนมากกว่าบริเวณใกล้เคียง

            เหล็กถูกหลอมที่หมู่บ้านตะเคียน(Phum Koki ភូមិគគីរ) หมู่บ้านนี้ปลูกบ้านเรือนเป็นแบบกระท่อม จำนวน 50 หลังคาเรือน เราพบแร่เหล็กในรูปของกรวดขุดจากใต้ดิน กระบวนการขุดคล้ายกับที่เราเห็นที่ Ketaravisai(ปัจจุบันคือ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดสารคาม) ที่เมืองขุขันธ์นี้ เหล็กที่สร้างขึ้นจากภูมิปัญญาอันชาญฉลาดนี้ ขายชิ้นละ 1 - 4 บาท(ticaux) ขึ้นอยู่กับขนาดแผ่นเหล็กที่ผลิตได้

           ระหว่างเมืองศีร์ษะเกษและเมืองขุขันธ์ เราเดินทางตลอดทั้งวันท่ามกลางป่าไม้ที่มีลำต้นสูง เช่น phdiek(ផ្តៀក ต้นกระบาก)​ téal(ឈើទាល​ ต้นยางนา),trach(ត្រាច ต้นยางกราด หรือต้นสะแบง), popél(ต้นพยอม), srål ou pins(ต้นสน)​ ถนนสัญจรไปมาสะดวกดี แต่เป็นถนนดินทราย ยามกลางคืน ตะบองขี้ไต้ เป็นคบเพลิงที่นิยมใช้กันมากสำหรับชาวเมืองขุขันธ์
 
               ในเมืองนี้ น้ำตาลอ้อย ขาย 10 ก้อน ราคาประมาณ 3 ปอนด์ แต่ถ้าบ้านนอกราคาชาวบ้านอยูที่ 2 ปอนด์ ผลผลิตที่สำคัญคือข้าว เมืองขุขันธ์สามารถผลิตข้าวเพื่อการส่งออกได้ นอกจากนี้ก็มีวัวตัวผู้(des beufs) ,ควาย(des buffles) , หมู(des porcs) และม้า(des chevaux) สำหรับม้า 1 ตัว มีราคาเทียบเท่าโลหะเงิน 1 แท่ง

            โดยสรุปแล้ว เมืองขุขันธ์ นั้น มีความอุดมสมบูรณ์ เช่นเดียวกันกับเมืองโคราช มีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ อยู่ในชัยภูมิที่ดี โอบด้วยเทือกเขายาว(พนมดองเร็ก) สำหรับสินค้าส่งออกที่สำคัญของเมืองขุขันธ์ คือ ครั่ง(la laque) ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เกือบทุกหมู่บ้านที่อยู่ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันออกของเมือง โดยเฉพาะที่ภูฝ้าย(Phnom Krebas พนมกฺรบาฮฺ) 

            ชาวบ้านจะเลี้ยงครั่งที่ต้นพะยุง(krenhung ឈើក្រញូង) ต้นสนวน(snuol ស្នួល) และต้นไม้ที่พบเลี้ยงครั่งกันเป็นจำนวนมากคือ ต้นสังแก(Le sangkê​ សង្កែ สะแก)​ ซึ่งสามารถพบต้นไม้เหล้านี้ได้ตามทุ่งนาทั่วไป ถ้าชาวบ้านตัดไม้มีค่าเหล่านี้ จะถูกจับเปรียบเทียบปรับเป็นเงินทันที

หน้า 258
          เดือนมกราคม ตัวครั่งจะถูกห่อในหญ้าคาและผูกติดกับกิ่งของต้นสังแก และครั้งก็จะแพร่ขยายตัวเจริญเติบโตไปทั่วทุกกิ่งของต้นไม้ ถึงเดือนมิถุนายน ก็คัดตัดแยกครั่งจากต้นตอที่มีตัวครั่งอยู่ ประมาณ 50 ตัว เพาะขยายสู่ต้นไม้อื่นๆได้แก่ต้นสนวน และต้นพะยูง และเมื่อถึงเดือนตุลาคม ครั่งก็แห้งตามธรรมชาติจากความร้อนของแสงอาทิตย์กลายเป็นครั่งดิบ(ម្រ័ក្សណ៍ខ្មុក) พร้อมเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในที่สุด

          ราคาขายครั่งที่แหล่งผลิตตกกิโลกรัมละ 7, 8 -10บาท แต่พอถึงในเมืองราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 10 - 12 บาท ครั่งเป็นสินค้าส่งออกไปยังเมืองป่าสัก(Bassak) ส่วนหนึ่งส่งไปยังเมืองศีร์ษะเกษ(Sisaket) และเมืองอุบล(Oubon) แต่ส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังเมืองโคราช(Korat)

         ที่เมืองขุขันธ์ ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1884(พ.ศ. 2427) เราได้พบขบวนรถยนต์รับจ้างของชาวจีนจากเมืองสุรินทร์ จำนวน 51 คันถูกจ้างเหมาโดยคนจีนจากโคราช(Korat)เพื่อขนครั่ง ตามข้อมูลจากหลวงอุดม ผู้นำขบวนรถยนต์รับจ้างชาวจีนจากเมืองสุรินทร์(Souren) ความว่า ค่าจ้างขนส่งจากสุรินทร์-โคราช เพียงคันละ 3 ตำลึง(damling) 2 สลึง(sling) รถยนต์เดินทางขนส่งเป็นระยะเวลา 12 - 14 วัน เส้นทางคมนาคมผ่านด่านตาโป้ย(Dan Ta Pouï) และด่านพระไทร(Prah Chréy ) ได้รับการปรับปรุง ทำให้กำปงธมสตึงแสน มีระยะทางใกล้เมืองขุขันธ์มากกว่าไปเมืองโคราช

           ในช่วงนี้ ได้มีผู้กล่าวอ้างว่า อดีตที่ตั้งศูนย์กลางเมืองขุขันธ์ อยู่ที่ บ้านรำดวล ในพื้นที่ของเมืองศีร์ษะเกษ แต่อย่างไรก็ตาม สร้อยต่อท้ายตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์ เช่น พระยาขุขันธ์ภักดี ศรีนครลำดวน (ศรีนคร คือ = çri nagara) เชื่อกันว่ามีที่มาจากชื่อของหมู่บ้านรำดวล (ซึ่งในขณะนั้น มีหลายหมู่บ้านที่ชื่อหมู่บ้านขึ้นต้นด้วย รำดวล เช่น บ้านรำดวลตรอเปียงสวาย เป็นต้น)  และในเวลาต่อมาชาวลาวแห่งเมืองศรีสะเกษ  ก็ได้เบี่ยงเบนข้อมูลทางประวัติศาสตร์ออกจากเมืองขุขันธ์ที่เคยอยู่เป็นส่วนหนึ่งภายใต้การปกครองในที่สุด 

           และมีเหตุการณ์การปล้นสะดมเกิดขึ้นที่ด่านช่องทางผ่านเข้า-ออกเมืองขุขันธ์ทางด้านทิศใต้บริเวณเทือกเขาพนมดองเร็ก ในวันที่พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน(ท่านที่ ๘ ท้าววัง หรือ พระวิชัย - พุทธศักราช ๒๓๙๕ - ๒๔๒๖) ได้ถึงแก่กรรมเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.1883 (พ.ศ. 2426) และในเดือนมกราคม ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2427) โลงศพของท่านก็ยังคงตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ที่บ้าน ซึ่งถูกกั้นด้วยผ้าม่าน และเฝ้าศพโดยสตรีแม่ม่ายที่ล้วนสวมชุดขาวโกนศรีษะ ในระหว่างรอไฟพระราชทานเพลิงศพจากกรุงบางกอกนั้น และพระสงฆ์ได้ถูกนิมนต์มาสวดอภิธรรมศพทุกวัน...

แปลโดย : นายสุเพียร  คำวงศ์ 
                   เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
ตรวจทานคำแปล อาจารย์ลักขณา น้อยพรหม
ที่มา : NOTES SUR LE LAOS,1885 PAR ÉTIENNE AYMONIER
SIXIÈME PARTIE (1) LES MÆUONGS KOUIS ET KHMÊRS
Sommaire ​80. Koukhan.

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย