ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ปี พ.ศ. 2441 ร.5 ทรงให้ความสำคัญกับการออกเสียง ร. เรือ และ ล. ลิง อย่างจริงจัง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5
        การให้ความสําคัญต่อการใช้ ร เรือ ล ลิง ปรากฏชัดในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีถึงพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์(หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ในปี พ.ศ. 2456) ปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ ถึงปัญหาการละเลยใช้ ร เรือ ของคนในขณะนั้น ว่า

“...ทุกวันนี้ เกิดการเรียกได้แต่ตัว ร. หรือตัว ล. อย่างเดียว ทิ้งเสียงอย่าง 1...เกือบจะว่าเด็กหนุ่มแลสาวทุกวันนี้ ได้เลิกอักษรไทยเสีย 1 ตัว เปนเหตุให้ทิ้งภาษาไทยเสียหลายร้อยคําไม่พูดลง เรียกคําเดียวหมายความเป็นสองอย่าง ทําให้ภาษาแคบเข้าอีกมาก เห็นว่าเป็นทั้งนี้ น่าจะด้วยครูเป็นคนเดียว อาจจะเพาะเด็กให้ตามไปได้ตั้งร้อย อย่างต่ำก็ไม่สังเกตรู้ว่านักเรียนพูดผิดหรือถูก จึงเห็นว่าควรจะตั้งสอบไล่ครู อาจารย์ ให้รู้จักอักษรทั้งสองตัวนี้ให้ชัดเจน ถ้าผู้ใดเรียกไม่ได้ หรือเรียกได้แต่อย่างเดียว ให้หยุดเงินเดือนแขวนไว้เสีย 1 เดือน ให้ซ้อมตัวเอง หรือตั้งโรงเรียนอาจารย์ขึ้นซ้อมใช้ตัวอักษรให้ถูก ถึงกําหนดเดือนให้เอามาสอบ หากว่าดัดเสียงเรียกอักษรให้ถูกต้องไม่ได้ ให้ออกเสียจากอาจารย์ไปรับจ้างเขาเขียนหนังสือ หรือแจวเรือดีกว่า ไม่เป็นการหากินด้วยมิจฉาชีวะล่อลวงเด็กให้เสื่อมจากภาษาของปู่ย่าตายาย”(1)

         พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฉบับข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความจริงจังของทางการที่จะจัดการกับลักษณะอันหลากหลายของการใช้ภาษาไทยให้อยู่ในแบบฉบับของความถูกต้อง ผ่านการออกเสียง ร. เรือ และ ล. ลิง บุคคลที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ จะถูกนับเข้าเป็นความบกพร่องที่รัฐไม่สามารถจะยอมรับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ครู” ซึ่งถือเป็น “คนกลางทางวัฒนธรรม” (cultural broker) ระหว่างรัฐกับชาวบ้าน ซึ่งมีหน้าที่สําคัญในการนําการถ่ายทอดวัฒนธรรมของรัฐไปสู่ชาวบ้าน(2)

เอกสารอ้างอิง
(1)หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.5 ศ.2/6 แผนจัดการศึกษา (30 ก.ค. 117 (พ.ศ.2441) -17 ก.ย. 127 (พ.ศ. 2451).

(2)ประสิทธิ์ ปรีชา, “ระบบการศึกษาและภาษาในกระบวนการสร้างรัฐชาติไทย,” วารสารสังคมศาสตร์ฉบับพิเศษ 19,1 (2550): 285
.

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย