1. ដួសត្រី /ดัวฮฺ*-เตร็ย*/ คือการใช้อวนขนาดเล็ก หรือสวิงช้อนจับปลา เป็นวิถีชีวิตชาวบ้านที่ไม่ค่อยได่ถ่ายทอดเก็บหลักฐานภาพไว้ให้ลูกหลานดู ภาพนี้ประทับใจมาก สื่อถึงการช่วยกันหาอยู่หากินตามประสาชาวบ้านในท้องถิ่นอำเภอขุขันธ์บ้านเรา การมีครอบครัวที่อบอุ่นและอยู่กันอย่างพอเพียง สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ขออนุเคราะห์ภาพนี้เพื่อเผยแพร่ ครับ


2. เพลงภาษาถิ่นเขมรอำเภอขุขันธ์ โดยนายพรรค วงศางาม ชาวบ้านตำบลปราสาท อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ท่านร้องสดในงานวันสงกรานต์และวันผู้สูงอายุประจำปีของตำบลปราสาท เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2557 ผลงานเพลงเด่นที่น่าสนใจและมีเนื้อหาคติเตือนใจ มีจำนวน 3 เพลงดังนี้
1) เพลงบอกบุญ
2) เพลงเวรกรรมตามทัน
3) เพลงเตือนใจวัยรุ่น
คลิกเดียว...ที่นี่ เพื่อฟังเพลงภาษาถิ่นเขมรอำเภอขุขันธ์
คลิกเดียว...ที่นี่ เพื่อฟังผลงานของพอจุม แสงจันทร์
3. เจียม ชุม(คนเขมรขุขันธ์เรียก "ตาจุม") หรือพ่อจุม แสงจันทร์ อยู่บ้านศรีสะอาด ตำบลศรีสะอาด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นนักเจรียง(นักร้องเพลง)เขมรโบราณมืออาชีพ คุณตาได้เรียนรู้การร้องเพลงและเล่นดนตรีจากพ่อเจียมเสน จัน บิดาของคุณตาซึ่งได้อพยพจากจังหวัดกำปงจาม ประเทศกัมพูชา มาอาศัยอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ ในช่วงยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส และกลายเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น ได้ถ่ายทอดมรดกนี้ให้กับคุณตา อาไยที่"ตาจุม"เล่นไม่เหมือนอาไยที่เล่นกันในประเทศกัมพูชาทุกวันนี้ แต่เป็นการเล่นที่สนุกสนานมาก และบทเจรียง(บทร้อง)ภาษาเขมรที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้ฟัง น่าเสียดายมาก...ที่ไม่มีใครสนใจที่จะเรียนรู้การเจรียง(ร้องเพลง)จากคุณตาเลย ดังนั้น ศิลปะการแสดงด้านนี้อาจจะหายไปถ้าไม่มีคนรุ่นใหม่สนใจใคร่เรียนรู้จากคุณตา...
คลิกเดียว...ที่นี่ เพื่อฟังผลงานของพอจุม แสงจันทร์
วันนี้ พ่อจุม แสงจันทร์ สามารถสร้างรายได้เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันจากการเจรียง(ร้องเพลง)และเล่นดนตรี เพราะยังมีคนเขมรต้องการที่จะเห็นคุณตาร้องเพลง การเจรียง(ร้องเพลง)ไปพร้อมๆกับการสีซอ เป็นศิลปะการแสดงของชนเผ่าเขมรอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่เคยมีในประเทศกัมพูชา....แต่มีเพียงแห่งเดียวในโลก....คือที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทยของเรานี่เอง