ประเพณีบุญแซนโฎนตา เป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของคนไทยในท้องถิ่นที่พูดภาษาเขมร และภาษากูย แถบจังหวัดในภาคอีสานตอนใต้ จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งในภาษาเขมรเรียกว่า “บุญประเพณีแซนโฎนตา” ประเพณีนี้ได้สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบัน
คำว่า "บุญ" ในใบลานภาษาเขมรถิ่นไทยจาร ว่า បុន แต่ต่อมาได้จารเป็น បុណ្យ ตามอักขรวิธีสมัยใหม่แบบภาษาเขมรที่กัมพูชา ส่วนคำว่า “แซนโฎนตา” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาเขมร ในท้องถิ่นขุขันธ์ซึ่งเขียนว่า សែនដូនតា อ่านว่า /แซน-โดน-ตา/ ส่วนที่ฝั่งประเทศกัมพูชาเรียกว่า ភ្ជុំបិណ្ឌ อ่านว่า /ปจุม-เบ็น/ จริงๆก็คือประเพณีอันเดียวกัน เพียงแต่ใช้ศัพท์เรียกแตกต่างกัน หรือบางครั้งก็เอาคำศัพท์ทั้งสองคำมารวมกันเป็น បុណ្យភ្ជុំបិណ្ឌសែនដូនតា อ่านว่า /ปจุม-เบ็น-แซน-โดน-ตา/ ซึ่งก็ยิ่งจะทำให้สามารถสื่อถึงความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
សែន/ แซน / แปลว่า การเซ่นไหว้ การอุทิศ หรือบวงสรวง ส่วนคำว่า ដូនតា หรือ “โฎนตา” แปลว่า ปู่ย่าตายาย หรือบรรพบุรุษญาติพี่น้องที่ได้ล่วงลับไปแล้ว นั่นเอง โดยชาวบ้านจะจัดให้มีขึ้นทุกปี ในช่วงวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง วันแรม 14 หรือ 15 ค่ำเดือนสิบ โดยเฉพาะชาวบ้านในแถบจังหวัดอีสานใต้ เช่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ฯลฯ ซึ่งบุตรหลาน และญาติพี่น้องที่ไปประกอบอาชีพหรือตั้งถิ่นฐานที่อื่นไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ทั่วทุกสารทิศ จะเดินทางกลับมารวมญาติ และมาทำบุญที่บ้านเกิดเพื่อทำพิธีแซนโฎนตา ร่วมกันทำบุญกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษ และญาติของตนเองที่ได้ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้ ใน่ช่วงประเพณีแซนโฎนตา ยังเป็นโอกาสที่จะได้ทำความดีตามหลักพระพุทธศาสนาด้วยการทำบุญ บริจาคทาน รักษาศีล และฟังพระธรรมเทศนา อันจะส่งผลให้จิตใจแจ่มใสปราศจากความเศร้าโศก และสะท้อนให้เห็นความรักความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว เครือญาติ และความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน
សែន/ แซน / แปลว่า การเซ่นไหว้ การอุทิศ หรือบวงสรวง ส่วนคำว่า ដូនតា หรือ “โฎนตา” แปลว่า ปู่ย่าตายาย หรือบรรพบุรุษญาติพี่น้องที่ได้ล่วงลับไปแล้ว นั่นเอง โดยชาวบ้านจะจัดให้มีขึ้นทุกปี ในช่วงวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง วันแรม 14 หรือ 15 ค่ำเดือนสิบ โดยเฉพาะชาวบ้านในแถบจังหวัดอีสานใต้ เช่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ฯลฯ ซึ่งบุตรหลาน และญาติพี่น้องที่ไปประกอบอาชีพหรือตั้งถิ่นฐานที่อื่นไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ทั่วทุกสารทิศ จะเดินทางกลับมารวมญาติ และมาทำบุญที่บ้านเกิดเพื่อทำพิธีแซนโฎนตา ร่วมกันทำบุญกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษ และญาติของตนเองที่ได้ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้ ใน่ช่วงประเพณีแซนโฎนตา ยังเป็นโอกาสที่จะได้ทำความดีตามหลักพระพุทธศาสนาด้วยการทำบุญ บริจาคทาน รักษาศีล และฟังพระธรรมเทศนา อันจะส่งผลให้จิตใจแจ่มใสปราศจากความเศร้าโศก และสะท้อนให้เห็นความรักความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว เครือญาติ และความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน
เครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษในบุญประเพณีแซนโฎนตา หรือ ภาษาเขมร เรียกว่า “ซ็อมแณน แซนโฎนตา”หรือภาษาเขมรเขียนว่า សំណែនសែនដូនតា จะประกอบไปด้วยอาหารคาวหวาน เครื่องดื่ม และผลไม้ชนิดต่างๆ
อาหารคาว ได้แก่ ปลานึ่ง ปลาย่าง หมูย่าง ไก่ย่าง แกงวุ้นเส้น แกงกล้วย ลาบหมู ต้มยำไก่และไก่นึ่ง ซึ่งเป็นไก่ทั้งตัวเอาเครื่องในออก
อาหารหวาน ได้แก่ ข้าวต้มมัดใบมะพร้าว หรือใบตอง ขนมเทียน ขนมนางเล็ด ขนมโกรจ(ขนมผลส้ม) ขนมฌูก(ขนมดอกบัว) และข้าวกระยาสารท
เครื่องดื่ม ได้แก่ น้ำเปล่า และน้ำอัดลม หรือน้ำผลไม้ต่างๆ
สำหรับ ผลไม้ ได้แก่ มะพร้าวอ่อน กล้วย ส้ม ละมุด พุทรา องุ่น เป็นต้น ผลไม้ที่สำคัญ ซึ่งขาดไม่ได้ในประเพณีนี้ก็คือ กล้วย นั่นเอง
ด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ประตูยมโลกจะเปิด และอนุญาตให้วิญญาณบรรพบุรุษเดินทางมาเยี่ยมญาติได้ ชาวบ้านจะพากันไปวัด เพื่อประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ และญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังพระสงฆ์แสดงธรรมเทศนา เป็นต้น ในช่วง ๑ – ๒ วัน ก่อนจะถึงวันแรม ๑๔ - ๑๕ ค่ำ ชาวบ้านจะเตรียมเครื่องเซ่นไหว้เพื่อจัดทำพิธีแซนโฎนตาที่บ้าน รวมทั้งจัดทำอาหารคาวหวาน เครื่องดื่ม และผลไม้ชนิดต่างๆด้วย แล้วรุ่งเช้าก็จะนำเอาไปทำบุญที่วัด และเป็นของฝากให้ญาติพี่น้องที่อยู่ใกล้ชิดกัน เมื่อวิญญาณของบรรพบุรุษได้มีโอกาสกลับมาเยี่ยมเยียนบุตรหลานบนโลกมนุษย์ พบเห็นข้าวปลาอาหาร ข้าวต้ม ขนมหวาน เครื่องดื่ม และผลไม้ชนิดต่างๆที่ลูกหลานจัดเตรียมเซ่นไหว้ และทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้อย่างอุดมสมบูรณ์ ต่างก็เกิดความปลื้มอกปลื้มใจ และรับเอาส่วนกุศลนั้นกลับไปด้วย และก่อนเดินทางกลับสู่ยมโลกเพื่อไปชดใช้กรรมที่ยังเหลืออยู่ โฎนตาเหล่านั้น ก็จะอำนวยอวยพรให้ลูกหลานประสบแต่สิ่งที่ดีงาม ประสบความสำเร็จในชีวิต ให้ทำมาค้าขึ้น และครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป
จังหวัดศรีสะเกษ โดยอำเภอขุขันธ์ ขอเชิญผู้สนใจทุกท่าน
ร่วมวัฒนธรรมบุญประเพณีแซนโฎนตา ณ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ได้ในระหว่างวันที่ตรงกับวันแรม ๑ - ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ของทุกปี
หมายเหตุ คำว่า "เขมรป่าดง"
1) ในสมัยหนึ่ง บริเวณที่เป็นจังหวัดศรีสะเกษ(เมืองขุขันธ์ ในอดีต) สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ดังที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้เคยถูกเรียกว่า “หัวเมืองเขมรป่าดง” ที่เขาเรียกกันอย่างนี้มานาน เพราะมีหลักฐานปรากฏชัดในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ - ๒๓๘๒ รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า พระองค์เคยรับสั่งให้ “เจ้าพระยาบดินเดชาสิงหเสนีย์” (สิงห์ สิงหเสนีย์) ผู้เป็นแม่ทัพสำคัญของไทยในขณะนั้นออกเดินทางมายังบ้านเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อจัดทำบัญชีพลหัวเมืองฝ่ายตะวันออกให้ชัดเจนเป็นหลักฐานเก็บรักษาไว้ ซึ่งก็รวมถึงหัวเมืองเขมรป่าดงเหล่านี้ด้วย ซึ่งในสมัยนั้น "เมืองเขมรป่าดง" (เมื่อปี พ.ศ. 2379) ประกอบด้วย 13 เมือง
2) คำว่า "เขมรป่าดง" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ท่านกล่าวว่า "... เมืองสุรินทร์ เมืองสังคะ เมืองขุขันธ์ เมืองศีร์ษะเกษ และอำเภอประโคนชัย(เดิมชื่อว่า "เมืองตลุง") บรรดาอยู่ฝั่งใต้ต่อแดนกัมพูชา ชาวเมืองเป็น "เขมรป่าดง" ทั้งนั้น..."