-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

พิธีบุญไหว้พระจันทร์ ป้อนข้าวเม่า ที่กัมพูชา หรือพิธีป็องออกเปรียะฮฺแข ของชนชาติพันธุ์เขมรแถบอีสานใต้บางพื้นที่ มีที่มาอย่างไร?

ប្រភពនៃពិធីសំពះព្រះខែ អកអំបុក ที่มาของพิธีไหว้พระจันทร์ ป้อนข้าวเม่า(ที่กัมพูชา และแถบอีกสานใต้บ้านเราในบางพื้นที่)
         តាមគម្ពីរបរមត្ថទីបនី  អដ្ឋកថា   ចរិយាបិដក  ភាសាបាលីមានចែងថា    ក្នុងដើមភទ្ទកប្បនេះ ព្រះបរមពោធិសត្វនៃយើង បានឧប្បត្តិជា សសបណ្ឌិត(កំណើតជាទន្សាយ)។ตามคัมภีร์ปรมตฺถทีปนี อฏฺฐกถา จริยาปิฎก ภาษาบาลี มีคำอธิบายไว้ว่า ในช่วงต้นภัทกัปป์นั้น พระบรมโพธิสัตว์ของเรา ได้เคยอุบัติเป็น สสบณฺฑิต(กำเนิดเป็นกระต่าย)ฯ


នៅថ្ងៃពេញពេញបូណ៌មីមួយ​​​​      ព្រះពោធិសត្វទ្រង់បានអធិដ្ឋាននូវឧបោសថសីលហើយ​  ទ្រង់បានឧទ្ទិសព្រះមំសៈ(សាច់) របស់​ទ្រង់ជាទានបរមត្ថបារមី  ​ដើម្បីបំពេញ​នូវព្រះពោធិសត្វ​សម្ភារឲ្យបានត្រាសជាព្រះពុទ្ធ។ ในวันเพ็ญเต็มดวงคืนหนึ่ง  พระโพธิสัตว์ทรงได้อธิษฐานอุโบสถศีล       และทรงได้ตั้งใจอุทิศพระมังสะ(เนื้อ)ของพระองค์เป็นทานปรมตฺถบารมี เพื่อบำเพ็ญซึ่งพระโพธิสัตว์สมภารสู่การได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าฯ


ពេល​នោះព្រះឥន្ធ  ទ្រង់បានជ្រាបនូវសេចក្តីប្រាថ្នា​របស់ពោធិសត្វទន្សាយ ហើយព្រះអង្គ​ទ្រង់បាន​ក្រឡាខ្លួនព្រះអង្គជាព្រាហ្មណ៍ចាស់មកសុំ​ព្រះមំសៈរបស់សសបណ្ឌិតជាអាហារ។​ ในขณะเดียวกันนั้นเอง พระอินทร์ทรงได้ทราบซึ่งความปรารถนาของพระโพธิสัตว์กระต่าย พระองค์จึงได้แปลงกายของพระองค์เป็นพราหมณ์เฒ่า เพื่อมาขอพระมังสะของ สสบณฺฑิต เป็นอาหารฯ


សសបណ្ឌិតពោធិសត្វបានឲ្យព្រាហ្មចាស់(ឥន្ទព្រាហ្មណ៍)នោះបង្កាត់ភ្លើងភ្នក់          ហើយ   ក្នុងពេលដែលភ្លើងកំពុងឆេះសន្ធោសន្ធៅ សសបណ្ឌិតក៏រលាស់ខ្លួន ៣ ដងដើម្បីឲ្យសត្វស្អិតដែលជាប់នៅនិងរោមជ្រុះចេញរួច    ក៏លោតចូលទៅក្នុងភ្នក់ភ្លើងភ្លាមតាមសន្យា។​ สสบณฺฑิตโพธิสัตว์ ได้ให้พราหมณ์เฒ่า(อินทพราหมณ์)นั้น ก่อกองไฟ และในขณะที่ไฟกำลังลุกไหม้โชติช่วงนั้น สสบณฺฑิต ก็สบัดตัว 3 ครั้ง เพื่อให้สัตว์เล็กๆที่ติดอยู่ในขนของตนกระเด็นหลุดออกไป  แล้วจึงกระโดดเข้าไปในกองไฟทันทีตามที่ได้สัญญากันไว้ฯ


អស្ចារ្យណាស់   ដោយ​អំណាចនៃផលបុណ្យ​     ភ្លើងដែលកំពុងឆេះយ៉ាងសន្ធោ​​សន្ធៅនោះ   ក៏រលត់     ទៅវិញទាំងអស់។ គ្រា​នោះ​ឥន្ធព្រាហ្មណ៍   ក៏ស្ទុះទៅត្រកងបី​យកព្រះពោធិសត្វ   សសបណ្ឌិតឡើងទៅដល់ឋានព្រះចន្ទហើយបានយកម្នាង​សិលា(មនោសិលា)​គួររួបទន្សាយ​ ហើយ ឥន្ទព្រាហ្មណ៍អធិដ្ឋានថា ​​សូមឲ្យរូបទន្សាយពោធិសត្វដែលខ្ញុំគូរនេះ  នៅជាប់រហូតដល់ទីបំផុតកប្ប។เป็นที่น่าอัศจรรย์มาก ด้วยอำนาจแห่งผลบุญ ไฟที่กำลังลุกไหม้อย่างโชติช่วงนั้น ก็ดับมอดลง โดยสิ้นเชิง ทันใดนั้น อินทพราหมณ์ก็รุดไปตระกองอุ้มเอาพระโพธิสัตว์ สสบณฺฑิต ขึ้นไปยังฐานพระจันทร์ และได้เอามนางสิลา(มโนสิลา=หินฟองเต้าหู้) วาดเป็นรูปกระต่ายแล้วอินทพราหมณ์ก็ได้อธิษฐานว่า ขอให้รูปกระต่ายโพธิสัตว์ ที่ข้าพเจ้าได้วาดนี้ จงติดสถิตอยู่บนดวงจันทร์  ตลอดชั่วกัปป์นี้ด้วยเทอญฯ


      ដោយអានុភាពទានបរមត្ថបារមី នៃព្រះពោធិសត្វផង និងសេចក្តីអធិដ្ឋានរបស់ព្រះឥន្ទផង     រូបទន្សាយក៏ឃើញ
ប្រាកដក្នុងមណ្ឌលព្រះចន្ទដរាបដល់សព្វថ្ងៃ ។ ด้วยอานุภาพแห่งทานปรมตฺถบารมีแห่งพระโพธิสัตว์ และคำอฐิษฐานของพระอินทร์ด้วย รูปกระต่ายจึงได้ปรากฎเห็นอยู่ในใจกลางของพระจันทร์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงทุกวันนี้ฯ


      ដោយយោង​តាមជំនឿនេះ​ហើយ​ ទើបប្រជាពុទ្ធបរិស័ទ តែងតែប្រារព្ធនូវ​ពិធីអក​អំបុក​​និងសំពះ​ព្រះខែ នៅរៀងរាល់​យប់ពេញបូរមី ខែកត្តឹក ដោយយកនំចំណី មានអំបុក និងចេក ជាដើម​ មកបូជាព្រះចន្ទ ហៅថាពិធីសំពះព្រះខែ អកអំបុក។ ដើម្បីគោរពបូជា​ដល់វិញ្ញាណខ័ន្ធនៃ​ព្រះពោធិសត្វ សសបណ្ឌិត    និង​ប្រាថ្នាសុំ​សេចក្តីសុខក្សេមក្សាន្តរៀងៗ​ខ្លួនរហូត​មក។   โดยอิงตามความเชื่อนี้เอง ชาวพุทธบริษัทจึงได้พากันจัดพิธีออกอ็อมบก และซ็อมเปียะฮฺเปรียะฮฺแข ในทุกคืนวันเพ็ญ เดือนสิบสอง โดยนำขนมและอาหาร ประกอบด้วยข้าวเม่า และกล้วย เป็นต้น มาไหว้พระจันทร์ เรียกว่า พิธีซ็อมเปียะฮฺเปรียะฮฺแข ออกอ็อมบก เพื่อสักการะบูชาถึงดวงพระวิญญาณแห่งพระโพธิสัตว์ สสบณฺฑิต และปรารถนาขอพรความสุขเกษมสานต์แก่ตนเองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาฯ

ภาพพิธี សំពះព្រះខែ អកអំបុក
ที่เสียมเรียบ, 3 พฤศจิกายน 2560.

ឯកសារយោងៈ "ប្រវត្តិ បុណ្យអុំទូក បណ្តែតប្រទីប សំពះព្រះខែ អកអំបុក" បោះពុម្ព ព.ស ២៥៤៥ និង គ.ស ២០០១.
เอกสารอ้างอิง : "ประวัติบุญแข่งเรือ ลอยกระทง ไหว้พระจันทร์ป้อนข้าวเม่า".พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2545และ ค.ศ. 2001.
แปลและเรียบเรียงโดย : สุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์, 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560,09:45 น.


ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
โทร. 086-1308496
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
โทร. 098-5869569

สนับสนุนโดย