ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สดับปกรณ์ คือ อะไร?

           สดับปกรณ์ เป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปหมายถึง การบังสุกุล (ใช้แก่พระศพเจ้านาย) แต่หากพิจารณาจากการเขียนคำนี้ทั้งในภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต พบว่ามีความหมายคือ ปกรณ์ทั้ง ๗ หรือพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ซึ่งประกอบด้วย
            ๑. สังคณี
            ๒. วิภังค์
            ๓. ธาตุกถา
            ๔. ปุคคลบัญญัติ
            ๕. กถาวัตถุ
            ๖. ยมก
            ๗. ปัฏฐาน


           ดังนั้น ทั้งบังสุกุลและสดับปกรณ์ จึงมีที่มาต่างกัน กล่าวคือ บังสุกุลเป็นการบำเพ็ญกุศลด้วยการชักผ้าหรือทอดผ้าบังสุกุล ส่วนสดับปกรณ์ หมายถึงการสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์เพื่อแสดงความกตัญญต่อผู้ล่วงลับ ซึ่งในงานพระราชพิธีพระพิธีธรรมจะสวดพระอภิธรรมทำนองหลวงซึ่งมี ๗ คัมภีร์ อย่างไรก็ดี ยังมีความนิยมเรียกพิธีทั้งการทอดผ้าบังสุกุล และการสวดพระอภิธรรมของเจ้านายว่า สดับปกรณ์

ที่มา : หนังสือคำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หน้า ๔๔.

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย