ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

คำว่า "กาโงก" หรือ "กาโหงก" ในพื้นที่อำเภอภูสิงห์เชื่อมต่อกับอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ หมายถึงอะไร ?

           หลายท่านที่เป็นชาวขุขันธ์ ที่ได้เคยขับรถหรือสัญจรไปมาผ่านสี่แยกนาเจริญ ตำบลโสน ตามทางหลวงหมายเลข 24 มุ่งหน้ามาทางทิศตะวันออกผ่านสะพานข้ามห้วยแห่งหนึ่งก่อนจะเข้าสู่พื้นที่ของตำบลห้วยใต้ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ชื่อแปลกดี ที่ป้ายทางหลวงข้างถนนก่อนถึงสะพาน ปรากฏข้อความว่า "ห้วยกาโงก"
สะพานข้ามห้วยกาโงก หรือห้วยนกยูง บริเวณพื้นที่เขตรอยต่อ
อำเภอขุขันธ์ กับอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
และถ้าท่านเดินทางผ่านสี่แยกนาเจริญ ตำบลโสน มุ่งไปทางทิศเหนือ ก่อนที่เราจะเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านบ้านอาวอย ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จะมีสะพานข้ามห้วยแห่งหนึ่ง มีป้ายบอกชื่อไว้ว่า "ห้วยกาโหงก
   
          ผู้เขียนคิดว่าคงจะมีหลายท่าน อาจจะมีข้อสงสัยและกำลังค้นหาที่มาและความหมายของคำนี้กันอยู่ นะครับ


สะพานข้ามห้วยกาโหงก หรือห้วยนกยูง ในพื้นที่บ้านอาวอย ตำบลโสน
อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ

คำว่า "กาโงก" หรือ "กาโหงก" คือ อะไรกันแน่ ?  
        จากที่ผู้เขียนได้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม และสอบถามจากชาวบ้านที่เป็นผู้รู้ในพื้นที่ ทำให้ทราบว่า คำว่า "กาโงก" หรือ "กาโหงก เป็นคำที่ทางการถอดเสียงมาจากเสียงพูดคำภาษาเขมรโบราณในท้องถิ่นเมืองขุขันธ์ที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน คือ อ่านออกเสียงว่า /kŋaok/  เป็นคำนาม ในที่นี้ อาจแปลได้ 2 ความหมาย ดังนี้ 
           ความหมายแรก แปลว่า นกยูง  หรือ นกยูงสีเขียว (อังกฤษ: Green peafowl; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pavo muticus มาจากภาษาละติน Pavo, นกยูง; muticus, เชื่อมต่อ หรือ ตัดทอน) จัดเป็นไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่พบในป่าเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  สำหรับคำภาษาเขมรในประเทศกัมพูชาเรียกว่า សត្វ​ក្ងោក  เป็นคำนาม แปลว่า นกยูง 



           ความหมายที่สอง แปลว่า ต้นหางนกยูง  ในภาษาเขมรที่ใช้กันมาแต่โบราณในเมืองขุขันธ์ และแถบจังหวัดอีสานตอนใต้ คือ  สำหรับคำภาษาเขมรในประเทศกัมพูชาเรียกว่า ដើម​ក្ងោក  เป็นคำนาม แปลว่า ต้นหางนกยูง นั่นเอง
  
ต้นหางนกยูง
ดอกและใบของต้นหางนกยูง
ดอกของต้นหางนกยูง
            ผู้เขียน สันนิษฐานจากคำบอกเล่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นแถบนี้ ว่า พื้นที่แถบนี้ในอดีตที่ผ่านมา น่าจะเป็นป่าที่เคยพบว่ามีสัตว์ป่าประเภทนกยูง อยู่อาศัยอยู่กันเป้นจำนวนมาก นั่นเอง
           ดังนั้น คำว่า  นี้  จึงเป็นที่มาของคำเรียกชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ คือ บ้านนกยูง ซึ่งแปลมาจากรากศัพท์ภาษาเขมรท้องถิ่นดั้งเดิมที่เคยเรียกกันมาแต่ปู่ย่าตายายในยุคยุคก่อนหน้านี้  ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น
ทัศนียภาพบริเวณด้านหน้าของวัดบ้านนกยูง
 อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ


          และนอกจากนี้ ยังเป็นชื่อเรียกของแหล่งน้ำที่เป็นสายใยเชื่อมพื้นที่เขตติดต่อกันของอำเภอขุขันธ์ กับ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เรียกว่า "ห้วยกาโงก" ซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่บ้านนกยูง  ตำบลตะเคียนราม อำเภอภสิงห์ สิ้นสุดที่สะพานข้ามห้วยกาโหงก ที่บ้านอาวอย  ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งความยาวโดยประมาณ 6 กิโลเมตร  แต่ต่อมาลำห้วยจากสะพานข้ามห้วยกาโงก บริเวณเขตติดต่อกับอำเภอภูสิงห์  ถึงสะพานข้ามห้วยกาโหงก ที่บ้านอาวอย ตำบลโสน  อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ถูกเรียกชื่อใหม่ในปัจจุบันว่า "ห้วยคด"  เพราะลำห้วยมีลักษณะโค้งคดเคี้ยวไปมา นั่นเอง


ห้วยคด ในปัจุบัน หรือ ห้วยกาโงก ในอดีต ก็คือชื่อเรียกห้วยเดียวกัน
   
           แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนขอสรุปเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ ชื่อเรียก "ห้วยคด" ในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของห้วยกาโงก หรือ ห้วยกาโหงก  และห้วยกาโงก หรือ ห้วยกาโหงก ในปัจจุบันเป็นเพียงชื่อเรียกลำห้วยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำห้วยตึกชู​ ​ซึ่งเป็นห้วยน้ำสายยาวที่หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ และอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ มาจนถึงปัจจุบัน...

ที่มา : สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ขอขอบคุณ ข้อมูลจากภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวบ้านอาวอย และชาวบ้านนกยูง ที่ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูล  และขอบคุณ คุณเศรษฐศักย์ ศรีบรรฎิษฐ ผู้ใหญ่บ้านอาวอยพัฒนา หมู่ที่ 21 ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษที่ช่วยประสานข้อมูลฯ , https://th.wikipedia.org/wiki/นกยูงไทย และขอบคุณท่าน ดร.ปริง เพชรล้วน ที่ช่วยเติมเต็มข้อมูลฯ

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย