ภาพมุมกว้างของปราสาททามจาน ถ่ายจากด้านทิศตะวันตก โดย สุเพียร คำวงศ์ สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ (16 พ.ค. 2558 เวลา 17.29 น.) |
พิกัดGPS ของปราสาททามจาน บน Google Map
คือ 14°49'03.6"N 104°06'36.3"E หรือ 14.817667, 104.110083
บรรณาลัยที่ตั้งทางอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หันหน้าเข้าหาปราสาทประธาน |
กำแพงแก้วสร้างด้วยหินศิลาแลง ล้อมรอบปราสาททามจาน |
สระน้ำขนาดเล็กอยู่นอกกำแพงทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประสาทประธาน |
ชาลา(ทางเดิน)ทอดไปสู่บาราย(สระน้ำขนาดใหญ่) ซึ่งอยู่ทางด้านนอกกำแพงออกไปทางทิศตะวันออก |
กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาททามจานเป็นโบราณสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2478 และเล่มที่ 99 ตอนที่ 130 วันที่ 14 กันยายน 2525 กำหนดพื้นที่โบราณสถานประมาณ 4 ไร่ 81 ตารางวา
ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาททามจาน โดยกรมศิลปากร |
ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ได้ขุดค้นศึกษาทางโบราณคดี พบโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ ศิลาจารึก และรูปเคารพต่างๆ พร้อมได้บูรณะซ่อมแซมเมื่อปี พ.ศ. 2552 - 2555
หมายเหตุ - สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ นำมาบันทึกข้อมูลไว้ที่เวปฯสภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์ เพราะปราสาทแห่งนี้เคยอยู่ในพื้นที่ของเมืองขุขันธ์(ก่อน พ.ศ. 2459)ในอดีต เพื่อให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ค้นคว้าศึกษาต่อไป
- พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประสูติราว พ.ศ. 1668 หรือ ราว ค.ศ.1125 ครองราชย์ ราวช่วง พ.ศ.1724 - พ.ศ.1761 หรือ ค.ศ. 1181-1218 และสวรรคตราว พ.ศ.1761 หรือ ค.ศ. 1218
- พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประสูติราว พ.ศ. 1668 หรือ ราว ค.ศ.1125 ครองราชย์ ราวช่วง พ.ศ.1724 - พ.ศ.1761 หรือ ค.ศ. 1181-1218 และสวรรคตราว พ.ศ.1761 หรือ ค.ศ. 1218
ที่มา : - สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี กรมศิลปากร กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โทร.045-312856
- http://km.wikipedia.org/wiki/ជយវម៌្មទី៨
- http://km.wikipedia.org/wiki/ជយវម៌្មទី៨