**************************************
แล้วใครผิดใครถูก ระหว่างคนที่ใช้คำว่า "โดนตา" กับคนที่ใช้คำว่า "โฎนตา"
**************************************
>>ขอตอบว่า ตอบว่า ถูกทั้งคู่ ครับ แต่ว่า...
คนที่ใช้คำว่า "โดนตา" ก็คือเขาเขียนตามคำที่ได้ยินจากคนท้องถิ่นเขมรพูด นั่นคือ สัมผัสได้แค่เพียงหูได้ยินเสียงว่า /โดน-ตา/ ก็เลยเขียนตามที่ได้ยินนั้น แต่ถ้าจะบัญญัติขึ้นมาเป็นศัพท์ในพจนานุกรมไทย...ก็ต้องเขียนให้ครบเพราะงานนี้ไม่ได้โดนแค่ตา แต่ยังโดนถึงยายด้วย...
สำหรับคนที่ใช้คำว่า "โฎนตา" ก็คือผู้รู้ถึงรากเหง้าที่มาของคำศัพท์ หรือกล่าวว่า น่าจะรู้ลึกกว่า นั่นเอง ครับ
และขอฝากว่า...ถ้าท่านคิดว่า “แซนโฎนตา” เป็นประเพณีเขมร หรือของชนเผ่าเขมรอีสานใต้ของเรา ก็ต้องใช้
ฎ คำว่า โฎนตา ในภาษาเขมรใช้ตัว ฎ
เขียน ไม่ได้ใช้ตัว
ด
เพราะคำว่า “โฎนตา” แปลว่า ปู่และย่า หรือ ตาและยาย และยังหมายถึง บรรพบุรุษ อีกด้วย
ดังนั้น ประเพณีแซนโฎนตา
คือประเพณีที่มีการเซ่นให้ปู่ย่า ตายาย และบรรพบุรุษ
ผู้ล่วงลับไปแล้ว
(แม้แต่คำว่า เซ่น ก็เป็นคำภาษาเขมร คือมาจากคำว่า แซน
นั่นเอง)
คำศัพท์ในภาษาไทย มิได้มีเฉพาะเพียงคำไทยชาติเดียว
มีคำของชาติอื่นปะปนอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะภาษาเขมร
ฉะนั้น
"แซนโฎนตา"
เขียนตามภาษาเดิมถูกต้องแล้ว จะเขียน แซนโดนตา ให้ตาตัวเองแตกทำไม มันมาโดนตา ก็ตาแตกนะซิ
เฮ่อ น่าสงสาร...555... เพราะคำว่า “โฎนตา” แปลว่า ปู่และย่า หรือ ตาและยาย และยังหมายถึง บรรพบุรุษ อีกด้วย
หมายเหตุ เอกสารที่มีข้อความภาษาเขมรที่นำเอามาขึ้นในเวปนี้ เพราะต้องการมาประกอบหลักฐานที่มาของคำว่า "โฎนตา" เท่านั้นและมีความเห็นว่า บนโลกใบนี้ สำหรับคำว่า วัฒนธรรมประเพณี คงไม่มีพรมแดนขวางกั้นเหมือนอาณาเขตประเทศ นะครับ