-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การชำระประวัติศาสตร์เมืองขุขันธ์

             ประชุมครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2548 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม เทศบาลตำบลห้วยเหนือ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 10 ท่าน ที่ประชุมร่วมพิจารณา เนื้อหาประวัติเมืองขุขันธ์ และประวัติเจ้าเมือง ฉบับที่ อาจารย์นิติภูมิ ขุขันธิน ร่างมาเสนอเป็นต้นฉบับ แก้ไข ขัดเกลา ศึกษาเพิ่มเติม และให้มีเอกสารอ้างอิง
             ประชุมครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2548 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลห้วยเหนือ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 12 ท่าน ได้ประชุมพิจารณาร่างประวัติเมือง ประวัติเจ้าเมือง และประวัติการสร้างที่มอบหมาย โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านภาษาไทย เข้าร่วมประชุมพิจารณา ปรับปรุง แก้ไข การใช้สำนวนทางภาษาไทยให้สละสลวยถูกต้องตามหลักภาษา ก่อนนำเสนอนายอำเภอขุขันธ์ พิจารณาอนุญาตให้ไปบันทึกลงในแผ่นจารึก
             ประชุมครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม เทศบาลตำบลห้วยเหนือ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 15 ท่าน ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้รู้และผู้สนใจเกี่ยวกับประวัติเมืองขุขันธ์มาร่วมประชุมพิจารณา ทบทวน ปรับปรุง แก้ไข เอกสารฉบับร่างที่คณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาไทย ร่วมกันประชุมพิจารณา ครั้งที่ 4/2548 และสรุปผลการประชุมพิจารณาและนำเสนอนายอำเภอเพื่อขออนุญาตจารึกลงในแผ่นศิลา จารึกบริเวณฐานอนุสาวรีย์
             ประชุมครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเล็กที่ว่าการอำเภอขุขันธ์ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 19 ท่าน มีนายอำเภอขุขันธ์เป็นประธานมนที่ประชุม ประธานเสนอให้ที่ปะชุมทบทวน ปรับปรุงเนื้อหาประวัติเจ้าเมืองให้ชัดเจนขึ้น ผลการประชุมได้เนื้อหาที่จะนำไปจารึกไว้ที่ฐานอนุสาวรีย์ทั้ง 2 ด้าน

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย