-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557

ปราสาทตาเล็ง(Prasat Taleng) หรือ ប្រាសាទតាលេង

 

      ปราสาทตาเล็ง ប្រាសាទតាលេង (Prasat Taleng) หรือปราสาทบ้านลุมพุก(Prasat Banlumpuk) ช่วงก่อนที่บ้านปราสาท หมู่ที่ 1 ตำบลปราสาท อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบันจะได้รับการพัฒนาและยกระดับเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาป้องกันตนเอง(อพป.) ปราสาทตาเล็ง เป็นที่รู้จักในนาม "ปราสาทบ้านลุมพุก" สาเหตุที่เรียกกันเช่นนั้นเพราะ คนสมัยก่อน เมื่อได้มีการสัญจรไปมาหาสู่กัน หรือพบปะกันต่างหมู่บ้านก็มักจะทักทายและถามไถ่กันว่า ท่าน...มาจากไหน ? คนบ้านปราสาทก็จะตอบว่าอยู่บ้านปราสาท ถ้ามีผู้ไม่เข้าใจว่าอยู่บริเวณไหน เพราะสมัยนั้นคำว่า "บ้านปราสาท" มีหลายหมู่บ้าน ก็มักจะถามต่อไปว่า ปราสาทไหน ? ผู้ตอบก็จะเอาชื่อตำบล หรือชื่อหมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเป็นสร้อยต่อท้ายชื่อหมู่บ้าน เช่น ปราสาทบ้านลุ่มพุก เป็นต้น ซึ่งบ้านลุมพุก นั้นเป็นบ้านเก่าแก่ที่มีพื้นที่ใกล้เคียงปราสาทหลังนี้และเป็นศูนย์กลางของตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 
   ต่อมา เมื่อปี 2532 พื้นที่ด้านทิศตะวันตกของตำบลกันทรารมย์ ได้ถูกแยกออกและตั้งเป็นตำบลใหม่ โดยนำชื่อบ้านปราสาท(เดิมบริเวณบ้านปราสาท เป็นหมู่ที่ 6 ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัศรีสะเกษ)  มาตั้งเป็นชื่อตำบลด้วย เรียกว่า "ตำบลปราสาท" และบ้านปราสาท หมู่ที่ 1 ขณะนั้นได้ได้รับการพัฒนาและยกระดับเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาป้องกันตนเอง(อพป.) และมีการพัฒนาเป็นอย่างมาก คณะกรรมการหมู่บ้านได้มีการรื้อฟื้นประวัติของหมู่บ้านและเริ่มจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจึงได้ทราบว่า ผู้ที่มาก่อตั้งหมู่บ้านปราสาทคนแรก ชื่อว่า ตาเล็ง ดังนั้น เพื่อเป็นการยกย่องและให้เกียรติแก่ผู้ก่อตั้งหมู่บ้านท่านแรก จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกของปราสาทบ้านปราสาท หรือ ปราสาทบ้านลุมพุก เป็นชื่อเรียกใหม่ว่า "ปราสาทตาเล็ง" ตั้งแต่นั้นมา

ที่ตั้ง
            บ้านปราสาท  หมู่ที่  1  ตำบลปราสาท  อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ  บริเวณรุ้ง(Longtitude)ที่  14  องศา  43  ลิปดา  40  ฟิลิปดา เหนือ  แวง(Latitude)ที่  104  องศา  01  ลิปดา  20  ฟิลิปดาตะวันออก  พิกัด 48 PUB  951283  แผนที่ทหาร  มาตรส่วน  1 : 50,000  พิมพ์ครั้งที่  2- RTSD  ลำดับชุด  L  7071  ระวาง  5838  III


พิกัดGPS ของปราสาทตาเล็ง บน Google Map 
คือ 14°43'45.7"N 104°01'18.2"E หรือ 
14.729363, 104.021714

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
            ปรางค์เป็นปรางค์รูปเดี่ยวรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ก่อด้วยศิลาทรายเสริมด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนศิลาแลง  มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก  กรอบประตูหินทรายทั้งสองข้างสลักเป็นตัวหงส์กำลังร่อนอยู่ในลายพันธุ์พฤกษา  เหนือบัวหัวเสาสลักเป็นมกรคายนาคห้าเศียร  ส่วนยอดของปรางค์พังทลาย  เรือนผนังปราสาทเหลือเพียงบางส่วน  พบชิ้นส่วนฐานปฏิมากรรม  หน้าบัน  และทับหลัง  ตกร่วมอยู่   4   ชิ้น  ทับหลังที่ประตูด้านทิศตะวันออก สลักเป็นเกียรติมุขหรือหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยออกมาทั้งสองข้าง  มีพวงอุบะและลายใบไม้ม้วนอยู่เหนือเกียรติมุขสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ทับหลังด้านทิศใต้ สลักเป็นรูปพระยมทรงมหิงสา  อยู่เหนือเกียรติมุข  ทับหลังด้านทิศตะวันตกสลักเป็นรูปพระพิรุณทรงหงส์อยู่เกียรติมุข  ทับหลังด้านทิศเหนือ  สลักเป็นรูปพระอีสานทรงโค ? แนวศิลาแลงปรากฏอยู่ทางทิศตะวันตก  สันนิษฐานว่าเป็นขอบโคปุระ  ส่วนคูน้ำสภาพตื้นเขินล้อม   3   ด้าน เว้นทางเดินทางตะวันออก และจากโคปุระ จากทางด้านตะวันออก  มีแนวคันดินลักษณะคล้ายถนนตัดตรงสู่บาราย(สระน้ำ)ขนาดใหญ่ ซึ่งชาวบ้านเรียกเป็นภาษาเขมรว่า หนองละเบิก​ (คำว่า ละเบิก หรือรากศัพท์ภาษาเขมรใบลานเมืองขุขันธ์เขียนได้ว่า ល្បើក แปลว่า ระยะทางไม่ไกลเท่าไรนัก เดินด้วยเท้าไปพอได้ออกกำลังและได้เหงือเล็กน้อย ราวๆ 100 - 200 เมตรก็ถึงหนองน้ำนั้น)


ประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก
กรอบประตูหินทรายทั้งสองข้างสลักเป็นตัวหงส์
กำลังร่อนอยู่ในลายพันธุ์พฤกษา

เหนือบัวหัวเสาสลักเป็นมกรคายนาคห้าเศียร

ส่วนยอดของปรางค์พังทลาย
เรือนผนังปราสาทเหลือเพียงบางส่วน
พบชิ้นส่วนฐานปฏิมากรรม  หน้าบัน
และทับหลัง  ตกร่วมอยู่  4  ชิ้น

ทับหลังที่ประตูด้านทิศตะวันออก สลักเป็นเกียรติมุข
หรือหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยออกมาทั้งสองข้าง
มีพวงอุบะ และลายใบไม้ม้วน
อยู่เหนือเกียรติมุขสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ทับหลังด้านทิศใต้ สลักเป็นรูปพระยมทรงมหิงสา
อยู่เหนือเกียรติมุข

ทับหลังด้านทิศตะวันตก  สลักเป็นรูปพระพิรุณทรงหงส์
อยู่เ
กียรติมุข

ทับหลังด้านทิศเหนือ  สลักเป็นรูปพระอีสานทรงโค 


ฐานปฏิมากรรม 

ส่วนคูน้ำสภาพตื้นเขินล้อม   3   ด้าน 
เว้นทางเดินทางตะวันออก

แนวศิลาแลงปรากฏอยู่ทางทิศตะวันตก สันนิษฐานว่าเป็นขอบโคปุระ

จากโคปุระ จากทางด้านตะวันออก
มีแนวคันดินลักษณะคล้ายถนน
ตัดตรงสู่สระน้ำขนาดใหญ่
บาราย(สระน้ำ)โบราณขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียก หนองละเบิก(ត្រពាំងល្បើក​​​  อ่านเป็นภาษาเขมรถิ่นเมืองขุขันธ์ได้ว่า
/ตรอเปี็ยง-ลเบิก trɑː:-pĕəŋ-ləbaək /

อายุสมัย
      ราวพุทธศตวรรษที่  16 – 17  (ราวพ.ศ.1560  -1630)

การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
      ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  99  ตอนที่  172 ง วันที่  8  พฤศจิกายน  2525

การประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถาน
      ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 172 ง วันที่ 8 พฤศจิกายน 2525 เนื้อที่  3  ไร่  2  งาน  53  ตารางวา


              จากลักษณะทางศิลปกรรมที่ปรากฏ  กล่าวได้ว่า ปราสาทตาเล็ง  สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบศิลปะเขมรแบบบาปวน  มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖  -  ๑๗ โบราณสถาน  แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ  และกำหนดขอบเขตโบราณสถาน  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม 99 ตอนที่ 172 วันที่ 18  พฤศจิกายน  2525  เนื้อที่ประมาณ  3  ไร่  2 งาน  53 ตารางวา  

               เมื่อวันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2557 ที่ห้องประชุม อบต.ปราสาท อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการประชุมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง การขุดศึกษาทางโบราณคดีปราสาทตาเล็ง โดยสำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ร่วมกับ อบต.ปราสาท ซึ่งอธิบดีกรมศิลปากรได้อนุมัติแล้ว และได้มอบหมายให้ นางสุกัญญา เบานิด ตำแหน่งนักโบราณคดีชำนาญการ และนายวสันต์ เทพสุริยานนท์ ตำแหน่งนักโบราณคดีชำนาญการ เป็นผู้ดำเนินงานขุดศึกษาทางโบราณคดีที่ปราสาทตาเล็งร่วมกับ อบต.ปราสาท และทีมงานชาวบ้านจิตอาสาจากทุกหมู่บ้านในสังกัดตำบลปราสาท เพื่อการออกแบบอนุรักษ์ โบราณสถานปราสาทตาเล็ง โดยลงมือดำเนินงานภาคนามในระหว่างเดือนธันวาคม 2557 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ด้วยงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.ปราสาท จำนวน 100,000บาท 

              
               สำหรับในปัจจุบัน ปราสาทตาเล็ง อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานศิลปากรที่  10 นครราชสีมา โดยสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม  จะได้มีโครงการอนุรักษ์และพัฒนาส่งเสริม เผยแพร่ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมของศาสนสถานแห่งนี้ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป

เอกสารอ้างอิง :     
     ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  99  ตอนที่  172 ง วันที่  8  พฤศจิกายน  2525
     ประเสริฐ   ศรีสุวรรณ์.ปราสาทตาเล็ง.ศรีสะเกษ.โรงเรียนบ้านคลองเพชรสวาย,19 กรกฎาคม 2556.
     สนั่น โสริยาตร.ด้วยสำนึกรักบ้านเกิ.ศรีสะเกษ.โรงเรียนบ้านสกุล,14 เมษายน 2557.
     สำลี ศรปัญญา.รวมศาสนสถานโบราณในจังหวัดศรีสะเกษ.ศรีสะเกษ : วิทยาการพิมพ์-ออฟเซท,2544.


วีดิทัศน์ประมวลภาพกิจกรรมโครงการสืบสานวัฒนธรรม 
น้อมนำกตัญญผู้สูงอายุตำบลปราสาท ปี 2557
(14 เม.ย. 2557)


ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย