-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ความหมายของคำว่า "ขอม" จากพจนานุกรมไทย และพจนานุกรมเขมร

            เมื่อหลายปีที่ผ่านมา นักวิชาการและผู้รู้ได้วิเคราะห์ถกเถียงเกี่ยวกับความหมายของคำว่า "ขอม" กันมา มีหลากหลายความหมาย หลายประเด็น และหลายมุมมอง ซึ่งเราจะไม่ขอกล่าวพาดพิงถึงให้ยืดยาว ณ ที่นี้
             สำหรับในพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔) ได้ให้ความหมายของคำว่า "ขอม" ซึ่งมี 2 ความหมายดังนี้

             ความหมายแรก เป็นคำนาม - น. เขมรโบราณ. ขอมดำดิน (สำ) น. คนที่ปรากฏตัวขึ้นทันทีอย่างไม่คาดฝันหรือหายไปอย่างรวดเร็วไม่ทันได้สังเกต

             ความหมายที่สอง ก็เป็นคำนามเช่นกัน - น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงขอม เช่น ขอมทรงเครื่อง ขอมใหญ่ ขอมน้ำเต้า ขอมระทม

​​​​​​​​​​​​​​​             แต่ในพจนานุกรมของประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระสังฆราช ชวน ณาต จัดพิมพ์เผยแพร่โดยสำนักงานพุทธศาสนบัณฑิต เมื่อปี ค.ศ.1967 ได้ให้ความหมาย ดังนี้
             ความหมายแรก เป็นคำกริยาคือ បើក​មាត់​លៀន​អណ្ដាត បើក​ភ្នែក​សំដែង​អាការ​ឲ្យ​គេ​ខ្លាច : ក្មេង​ហ្នឹង​ខិល​ណាស់ វា​ហ៊ាន​ខម​ដាក់​ខ្ញុំ ។ แปลว่า อ้าปากแลบลิ้น ทำตาเบิกโพลงให้คนอื่นกลัว ตัวอย่างเช่นในประโยค ក្មេង​ហ្នឹង​ខិល​ណាស់ វា​ហ៊ាន​ខម​ដាក់​ខ្ញុំ ។เด็กคนนั้นดื้อมากเลย มันกล้าขอมใส่ฉันฯ

             ความหมายที่สอง 
เป็นคำนามคือ ខ្មែរ​ក្នុង​បុរាណ​សម័យ​ព្រេង​នាយ ។ แปลว่า เขมรในสมัยโบราณกาลฯ

             และความหมายที่สาม 
เป็นคำนามคือ ឈ្មោះ​អក្សរ​ខ្មែរ​បែប​មួយ គឺ​អក្សរ​ធំ​កាច់​ជ្រុង (ច្រើន​ប្រើ​ចារ​នឹង​ស្លឹក​រឹត) : អក្សរ​ខម ។ แปลว่า ชื่อของแบบอักษรเขมรอีกรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะการเขียนหักมุมเป็นตัวเหลี่ยม นิยมใช้จารลงบนใบลาน เรียกว่า อักษรขอม ฯ

             สรุปความแล้ว พจนานุกรมทั้งไทยและเขมร ต่างให้ความหมายได้ตรงกัน ก็คือ คำว่า "ขอม" แปลตรงๆว่า เขมรโบราณ หรือเขมรในสมัยโบราณกาล นั่นเอง  

นี่คือ...ตำรายาสมุนไพรรักษาโรคจารด้วยอักษรขอม ของเมืองขุขันธ์ 
ซึ่งมีอายุกว่า 250 ปี พบที่ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 

             สำหรับในเมืองขุขันธ์ เมื่อกว่า 250 ปีที่ผ่านมานั้น บรรพบุรุษของเรา นิยมเขียนจารบันทึกองค์ความรู้ต่างๆไว้ในกรังสัตรา และใบลาน โดยใช้ อักษรเขมรโบราณ  หรือ อักษรขอม หรืออักขระขอม หรือเราอาจเรียกได้อีกคำหนึ่งว่า"แบบอักษรโบราณเมืองขุขันธ์ អក្សរបូរាណស្រុកគោកខណ្ឌ(Srok kokkhan Fonts)" ดังภาพข้างต้น เพื่อสืบทอดส่งต่อข้อมูลถึงรุ่นลูกหลาน  ซึ่งยังคงพบหลงเหลือให้เห็น และสามารถศึกษาสืบค้นได้ตามวัดต่างๆ และบางหมู่บ้านในรูปแบบของคัมภีร์ใบลาน ตำรายาตำราโหราศาสตร์ และวิชาอาคม เป็นต้น  แต่ทว่า จะมีลูกหลานชาวขุขันธ์เพียงไม่กีคนเท่านั้นที่จะสามารถอ่านออกเขียนจารอักขระเหล่านี้ได้อย่างคล่องแคล่ว  และรู้จริง...



ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
โทร. 086-1308496
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
โทร. 098-5869569

สนับสนุนโดย