วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ธรรมะสั้นๆ วันออกพรรษาจากพระครู สุภัทรกิจจากร เจ้าอาวาสวัดหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

"หาบบ่หนัก ตักไส่บ่ฮู้เต็ม เค็มบ่เคยจืด มืดบ่แจ้ง"

พระครู สุภัทรกิจจากร เจ้าอาวาสวัดหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

หาบบ่หนัก = ความรู้ บุญกุศล ยิ่งมีมากยิ่งเบา (สบาย)
ตักไส่บ่ฮู้เต็ม = ตัณหา กามราคะ เหมิอนเติมเชื้อไฟใส่กองเพลิง
เค็มบ่เคยจืด = อกุศลกรรมของบุคคลที่ได้ทำแล้ว สักวันต้องให้ผลแน่นอน
มืดบ่แจ้ง = สัตว์โลกที่ถูกอวิชขาครอบงำ ไม่รู้ถูกผิด มิจฉาทิฏฐิ


ที่มาจากเฟสบุค พระครู สุภัทรกิจจากร ,27 ตุลาคม 2558.

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พระวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ อยู่ในเขตเมืองขุขันธ์

          สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ - ๑  ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ รวมพระชันษาได้ ๘๑ ปี) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม และพระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุล "ดิศกุล"  
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
                                                  
พระองค์ท่านเล่าถึงเรื่องต่างๆที่พระองค์ท่านได้รู้ได้เห็นเมื่อครั้งไปตรวจราชการมณฑลอุดรและอีสาน ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ในนิทานเรืองแม่น้ำโขง ตอน ของโบราณ  ความตอนหนึ่งว่า ...พระวิหาร อยู่ในเขตเมืองขุขันธ์ สร้างเป็นเทวสถานตามลัทธิศิวเวท ปราสาทหินพระวิหารแปลกกับปราสาทหินแห่งอื่นๆ หมดทั้งในแดนเขมรและในแดนไทยไม่มีที่ไหนเหมือน ที่แปลกนั้นเป็น ๒ สถานคือสถานหนึ่งทำรูปทรงเหมือนยังเป็นพลับพลา ติดต่อกันไปหลายหลัง หลังคามีช่อฟ้าใบระกาตามมุขคล้ายกับปั้นลม เรือนฝากระดาน ไม่มีปรางค์ ไม่มีพระระเบียง แลดูเหมือนเป็นราชมณเฑียรที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินยิ่งกว่าเป็นเทวสถาน ที่บูชาก็มีรอยที่ตั้ง พระศิวลึงค์ เป็นพระประธานอยู่ในห้องกลางแห่งเดียว จึงแปลกกับปราสาทหินแห่งอื่นด้วยแบบที่สร้างสถานหนึ่ง 
            แปลกอีกสถานหนึ่งนั้น ด้วยไปเลือกที่สร้างตรงปลายจะงอยหน้าผาแห่งหนึ่งบนยอดเขาพนมดงรัก อันเป็นเทือกเขาเขื่อนแผ่นดินสูงที่ตั้งมณฑลอีสาน  ต่อกับแผ่นดินต่ำที่ตั้งประเทศกัมพูชา ที่ตรงนั้นกันดารน้ำ คงเป็นที่เปลี่ยวไม่มีบ้านเมืองผู้คน เหตุที่สร้างพระวิหาร ดูมีเหมาะอย่างเดียวแต่ที่อยู่ตรงนั้นแลดูไปทางข้างใต้   เห็นแผ่นดินต่ำไปจนตลอดสายตา เหลียวกลับมาดูทางข้างเหนือก็เห็นยอดไม้อยู่บนแผ่นดินสูงเป็นดงไปตลอดสายตา  ภาคภูมิน่าพิศวงไม่มีที่ไหนเหมือน ตรงหลังบริเวณพระวิหารออกไปเป็นหินดาด    อาจจะออกไปชะโงกดูแผ่นดินต่ำที่เชิงเขา   ถ้ายืนดูถึงใจหวิวต้องลองนั่งดู    บางคนอยากออกไปดูถึงปลายจะงอย   ลงนอนพังพาบโผล่แต่หัวออกไปดูก็มี เพราะอยู่สูงและเห็นแผ่นดินต่ำ ลึกลงไปจนต้นตาลเตี้ยนิดเดียว   เลยทำให้นึกถึงคำที่เคยเลยได้ยินเขาพูดกันมาแต่ก่อนว่าเป็นดินที่เมืองนครราชสีมา สูงกว่าแผ่นดินในกรุงเทพ ๗ ช่วงลำตาล เขาจะรู้ได้ด้วยประการใดก็ตาม   แต่ก็จริงเช่นนั้น   ตรงที่สร้างพระวิหารจะสูงกว่า๗ ลำตาลเสียอีก  ไปดูพระวิหารต้องไปดูทางเปลี่ยวไกลอยู่สักหน่อย แต่เป็นที่ราบ  ฉันลงจากรถไฟที่เมืองศรีสะเกศ ขึ้นรถยนตร์อย่างรถกะบะไปราว ๖ ชั่วโมง ทางที่ไปเป็นป่าไม้เต็งรัง ป่าต้นสน สลับกับไม้เบญจพรรณงามน่าชม ไปเข้าดงเมื่อใกล้จะถึงเชิงเขาพนมดงรัก แต่เป็นทางเดินขึ้นไปอีกสักชั่วโมงหนึ่งจึงถึงลาน  พักแรมที่เชิงยอดเขาพระวิหาร  ตอนขึ้นเขานี้  ไม่มีน้ำ คนขนต้องหอบหิ้วเอาน้ำขึ้นไปเอง แต่เชิงเขา นึกดูน่าพิศวงว่าเมื่อสร้างพระวิหารจะทำอย่างไรกัน...

ที่มา: นิทานโบราณคดีบางเรื่อง ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ ก่อนที่พระองค์ท่านจะสิ้นพระชนม์เล็กน้อย


คำว่า "เขมรป่าดง" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙

        สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ - ๑  ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ รวมพระชันษาได้ ๘๑ ปี) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม และพระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุล "ดิศกุล"  พระองค์ท่านเล่าถึงเรื่องต่างๆที่พระองค์ท่านได้รู้ได้เห็นเมื่อครั้งไปตรวจราชการมณฑลอุดรและอีสาน ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ในนิทานเรืองแม่น้ำโขง ตอน คนต่างจำพวก  ความตอนหนึ่งว่า

...เมื่อฉันขึ้นไปมณฑลอีสานครั้งหลัง ไปพบ "เขมรป่าดง" จำพวกหนึ่ง  สอบสวนได้ความว่า  เมืองสุรินทร์  เมืองสังคะ เมืองขุขันธ์   เมืองศีร์ษะเกษ และอำเภอประโคนชัย(เดิมชื่อว่า "เมืองตลุง")  บรรดาอยู่ฝั่งใต้ต่อแดนกัมพูชา   ชาวเมืองเป็น "เขมรป่าดง" ทั้งนั้น  พูดภาษาเขมรและมีการเล่นอย่างโบราณหลายอย่าง เช่น แค่เอาใบไม้มาเป่าเป็นเพลงเข้ากับขับร้องที่เรียกกันว่า "เขมรเป่าใบไม้" เป็นต้น ฉันเคยได้ยินแต่เรียกชื่อมาแต่ก่อน  เพิ่งไปเห็นเล่นกันจริงๆครั้งนั้น....

ที่มา: นิทานโบราณคดีบางเรื่อง ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ ก่อนที่พระองค์ท่านจะสิ้นพระชนม์

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คำกล่าวอัญเชิญเทวดาและดวงวิญญาณโฎนตา ปี พ.ศ. 2558



กราบขอบพระคุณ : บรรพบุรุษครูบาอาจารย์เจ้าของตำราอัญเชิญดวงวิญญาณโฎนตาจากทุกตำบลในอำเภอขุขันธ์ ที่ทีมงานได้ศึกษาค้นคว้า และนำมาร้อยเรียงเป็นคำกล่าวอัญเชิญที่สมบูรณ์สำหรับงานเมืองขุขันธ์ ๒๕๖ ปี ประเพณีแซนโฎนตา พ.ศ. ๒๕๕๘
ขอบคุณครูผู้ตรวจ/ทาน : 
- ดร.ปริง  เพชรล้วน  คณะกรรมการฝ่ายพิธีกรรมงานแซนโฎนตา อำเภอขุขันธ์ ๒๕๕๘
ทีมงานผู้เรียบเรียง : 
- นายสุเพียร   คำวงศ์     กรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
- นายเคลื่อน  บุญเครือ  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต.กันทรารมย์
- นายธีรพัฒน์ ย่อทอง   ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต.กันทรารมย์

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Soundประกอบหลักในช่วงพิธีการสำคัญของงานประเพณีบุญแซนโฎนตาเมืองขุขันธ์ ปี 2558

Soundประกอบหลักในช่วงพิธีการสำคัญของงานประเพณีบุญแซนโฎนตาเมืองขุขันธ์ ปี 2558 เพื่อประชาสัมพันธ์งานสืบสานประเพณีแซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษเมืองขุขันธ์ ประจำปี 2558 

.Sound1-ต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
นั่งช้างมาแซนโฎนตา ปี 2558

คำแปลในSound1เชิญชวนชาวเมืองขุขันธ์ และผู้มาร่วมงานฯ
ร่วมต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษในงานแซนโฎนตา ปี 2558
 เป็นภาษาไทย ว่า... 
“ เชิญเถิดพ่อแม่พี่น้องเอ้ยๆๆ มา ๆ ๆ ๆ ร่วมกันต้อนรับท่านพ่อเมืองศรีสะเกษด้วยกันหน่อยเร็ว พ่อเมืองศรีสะเกษของเรา...ท่านจะมาทำพิธีเส้นไหว้บรรพบุรุษในงานรำลึกพระยาไกร ภักดีประเพณีแซนโฎนตา บูชาหลักเมือง ลือเลื่องกล้วยแสนหวี ชาวอำเภอขุขันธ์ พวกเรามาต้อนรับพ่อเมืองศรีสะเกษหน่อยเร็ว”


Sound2-กล่าวนำเข้าสู่พิธีเปิด

งานประเพณีบุญแซนโฎนตาเมืองขุขันธ์ ปี 2558



Sound3-นำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
อัญเชิญเครื่องเซ่นไหว้โฎนตาเมืองขุขันธ์ ปี 2558



ขอบคุณเจ้าของเสียงพากย์เชิญชวนชาวเมืองขุขันธ์ และผู้มาร่วมงานฯร่วมต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษในงานแซนโฎนตา ปี 2558
1. เสียงภาษาถิ่นเขมร 
เจ้าของเสียงโดย นายสำราญ กอย่ากาง 
ผู้ใหญ่บ้านหนองก๊อก บ้านเลขที่ 63  หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยสำราญ

2. เสียงภาษาถิ่นกวย(กูย หรือบางท่านเรียก ส่วย)
เจ้าของเสียงโดย นายเฉลิมชัย บุตะเคียน 
อดีต ผอ.โรงเรียนบ้านมะขาม 
บ้านเลขที่ 99 บ้านปรือคันตะวันตก หมู่ที่ 7 ตำบลปรือใหญ่ 

3. เสียงภาษาถิ่นลาว
เจ้าของ เสียงโดย พันจ่าเอกเบ็ญจมิน ทรงคะรักษ์ 
อดีตผู้ช่วยท้องถิ่นอำเภอขุขันธ์

4. เสียงภาษาถิ่นเยอ(กวยเยอ)
เจ้าของ เสียงโดย นายสำราญ ธงชัย 
จพง.พัสดุ อบต.ปรือใหญ่
*******************************************
พากย์เสียงบรรยาย นายเรวัตร อสิพงษ์
ครูชำนาญการ โรงเรียนขุขันธ์
Sound Mixed By นายสมโภชน์ สุวรรณ์ 
ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านกันทรารมย์ 
Production Control By​ นายสุเพียร คำวงศ์ 
กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ในงานแซนโฎนตา /กรรมการฯสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รวมป้ายรณรงค์งานประเพณีบุญแซนโฎนตาเมืองขุขันธ์ปลอดเหล้า ปี 2558


             พี่น้องประชาชนชาวอำเภอขุขันธ์ที่รักทุกท่าน แซนโฎนตาปีนี้ ขอเชิญท่านร่วมค้นหารากเหง้าของประเพณีแซนโฎนตา เพื่อให้เป็นวัฒนธรรมอันดีงามที่จะสืบทอดส่งต่อลูกหลานอย่างมีคุณค่า ความจริงทางประวัติศาสตร์แห่งประเพณีแซนโฎนตาที่ปรากฎในคัมภีร์ใบลานทางพระพุทธศาสนาของดินแดนอีสานใต้เรา บอกว่า



            การทำบุญอุทิศส่วนกุศลผลบุญให้ไปถึงบรรพบุรุษ หรือโฎนตาที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อจะให้ท่านได้รับจริงๆนั้น ลูกหลานทุกคน จะต้องตั้งใจปฎิบัติตนตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดีงามเป็นพื้นฐาน อย่างน้อยก็ให้รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ อย่างสมบูรณ์ในช่วงเทศกาลแซนโฎนตา แล้วตั้งใจกรวดน้ำเพื่ออุทิศผลบุญไปถึง โฎนตา หรือบรรพบุรุษ และญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยใช้น้ำสะอาด หรือน้ำมะพร้าวซึ่งถือเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ เมื่อหยาดอุทิศให้เขาเหล่านั้นจะได้รับ และได้พ้นจากทุคติภูมิสู่สุคติภพ และโฎนตาเหล่านั้นก็จะอวยพรสรรพสาธุการ ให้แก่ลูกหลานที่ตั้งใจทำบุญอุทิศ ให้ได้รับความสุขความเจริญ ไม่เจ็บไม่จน อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาค้าขึ้น และมีโชคมีลาภที่ดีงามตลอดไป

       
         วันนี้ วันดี ขอเชิญทุกท่านมาร่วมสืบสานประเพณีแซนโฎนตาอันงดงาม ด้วย
         - คนสามวัยใส่ใจแซนโฏนตา สืบทอดประเพณี
             อย่างรู้คุณค่า และมีสติ

         - ร่วมรณรงค์ ลด ละ เลิกการดื่มเหล้า และ
             แอลกอฮอล์ทุกชนิดเพื่อชีวิตที่ดียิ่งกว่า
        

          นี่คือส่วนหนึ่งของปฏิบัติการเพื่อสร้างเมืองขุขันธ์ให้เป็นเมือง
ที่น่าอยู่ น่าอาศัย เพราะสังคมที่ดี สามารถออกแบบ และสร้างขึ้นได้


          ด้วยความปรารถนาดีจาก คณะสงฆ์อำเภอขุขันธ์  สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์  กศน.อำเภอขุขันธ์  เครือข่ายประชาสังคมขุขันธ์ สถาบันวิจัยชาวนา (สวช.) โรงพยาบาลขุขันธ์ และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุขันธ์