-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วัดบูรพาราม หรือวัดเขียนบูรพาราม หรือเรียกสั้นๆว่า วัดเขียน


            วัดเขียนบูรพาราม  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเมืองขุขันธ์ บริเวณบ้านพราน หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน
            มีตำนานเล่าต่อกันมาว่า วัดเขียน  บูรณะครั้งแรกเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๒๓  สมัยกรุงธนบุรี  โดยพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (เชียงขันธ์) เจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ ๒  หลังจากเลื่อนที่ตั้งเมืองมาจากบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน  ไปตั้งที่บริเวณหนองแตระ​ (ត្រពាំងត្រែះ)  แล้ว  สมัยนั้นได้ค้นพบว่ามี องค์พระพุทธรูปประดิษฐานในป่าทึบด้านชายเมืองทางทิศอาคเนย์   จึงได้ให้ราษฏร์แผ้วถาง แล้วปรับปรุงสร้างฐานและหลังคาครอบองค์พระพุทธรูป สร้างกุฏิและนิมนต์พระภิกษุสามเณรมาอยู่ประจำวัด แต่ยังไม่เรียบร้อยดี ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์   วัดจึงร้างไป

          พ.ศ. ๒๔๒๕  สมัย พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าววัง ) เจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ 8  ร่วมกับ ท่านพระครูธรรมจินดามหามุณี เจ้าคณะใหญ่เมืองขุขันธ์ ร่วมกับ กรมการเมืองได้นำราษฎร  พัฒนาบูรณะวัดเขียน  ซึ่งขณะนั้น บริเวณวัดเขียน ยังมีลักษณะเป็นป่าดงขึ้นหนาทึบ  และยกฐานะขึ้นเป็นวัด โดยจัดพระภิกษุจากวัดสะอางมาอยู่ประจำ   และเนื่องจากวัดนี้อยู่ทางทิศตะวันออกและด้านนอกติดกำแพงเมืองเมืองขุขันธ์ ​ชาวบ้านยุคนั้นนิยมเรียกชื่อเป็นคำภาษาเขมรถิ่นคล้องจองกันว่า เรียก វត្តខៀន កៀនមឿង​ อ่านว่า  เวื็อต-คีน-กีน-เมือง  และต่อมาล่าสุดได้ชื่อว่า "วัดเขียนบูรพาราม" เรียกกันมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
พิกัดGPS ของวัดเขียนบูรพาราม บน Google Map 
คือ14°42'58.1"N 104°12'20.4"E หรือ 14.716143, 104.205654


หลวงพ่อโตวัดเขียนบูรพาราม  ព្រះអង្គធំ   វត្តខៀន​​  ស្រុកគោកខណ្ឌ ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดเขียนบูรพาราม  ตั้งอยู่ที่บ้านพราน(ភូមិព្រាល)  หมู่ที่  ๔   ตำบลห้วยเหนือ  อำเภอขุขันธ์  จังหวัด ศรีสะเกษ  เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง  ปางมารวิชัย  ขนาดหน้าตักกว้าง  ๓.๕๐  เมตร  สูง  ๖.๘๐  เมตร มีลักษณะศิลปะที่ผสมผสานกันระหว่างศิลปะล้านช้าง และศิลปะอยุธยาตอนปลาย  
หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงาม ใหญ่โตและเก่าแก่ซึ่งซึ่งมีเรื่องราวความเป็นมา และเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองขุขันธ์มานานกว่า ๒๖๐ ปี(นับแต่ พ.ศ. ๒๓๐๒) 

โบสถ์วัดเขียนบูรพาราม
               ตั้งอยู่ที่บ้านพราน หมู่ที่  ๔   ตำบลห้วยเหนือ  อำเภอขุขันธ์  จังหวัด ศรีสะเกษ   เส้นรุ้ง   ๑๔๑๗๙๙  เส้นแวง  ๑๐๔๑๒๓๑ พิกัดกริด  ๔๘ PVB  ๑๔๙๒๖๘  แผนที่ ๕๘๓๘ III L  ๗๐๐๑๗  โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  อุโบสถซึ่งสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย  ผนังและฐานของอุโบสถก่อด้วยอิฐฉาบปูน  หลังคาเป็นโครงไม้สังกะสี  ที่ขอบโครงหลังคาโดยรอบ    แกะสลักเป็นลายพันธ์พฤกษา  ส่วนที่จั่วแกะสลักเป็นภาพในเรื่องรามเกียรติ์  ซึ่งแกะสลักขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์  ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ เรียกว่า “หลวงพ่อโต

ภายนอกพระอุโบสถ  ทั้ง ๔ มุม  มีธาตุในศิลปะล้านช้างตั้งอยู่   ปัจจุบันเหลือเพียง  ๒  องค์  องค์ที่ ๓  ยังคงมีซากปรังหักพังเหลืออยู่   แต่องค์ที่ ๔ ไม่มีให้เห็นแล้ว องค์ที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  

      วัดเขียนบูรพาราม  ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ  และกำหนดขอบเขตโบราณสถาน  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม  ๑๐๗  ตอนที่ ๑๖ วันที่  ๒๕  มกราคม  ๒๕๓๓   เนื้อที่ประมาณ ๒  ไร่  ๕๓  ตารางวา สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี ได้อนุญาตให้ดำเนินการบูรณะครั้งที่ ๔  เมื่อ ปี  พ.ศ. ๒๕๔๔   ซึ่งการบูรณะครั้งที่ ๔ นี้  ได้รับอนุญาตให้บูรณะพระอุโบสถ  องค์หลวงพ่อโต  และมีการหล่อองค์หลวงพ่อโตจำลองขึ้นสำหรับประชาชนได้มีโอกาสปิดทอง  โดยดำเนินการเททองหล่อองค์หลวงพ่อโตจำลองขึ้น  เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๔  และทำพิธีมหาพุทธาภิเษก  ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๕

 บริบทชุมชนวัดเขียน 
หลวงพ่อโตคู่บ้าน   ถิ่นฐานบ้านเมืองเก่า   
ขุขันธ์เราสามัคคี  ประเพณีแซนโฎนตา  
คุณค่าสังคมดี 

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย